วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กระเทียม

สรรพคุณ

การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย

สารสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อนคือเอนไซม์อัลลิเนส (Allinase) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน (Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหาร น้ำ กรดไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดอะมิโน เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี ฯลฯ

สรรพคุณทางยา
  1. ใช้ขับเหงือ ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ โดยใช้กระเทียมสดครึ่งกิโลกรัม ทุบพอแตก แช่ในน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ประมาณ 1 สัปดาห์ รับประทานครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

  2. ใช้ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โดยใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร

  3. ใช้รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โดยใช้กระเทียมสดปอกเปลือก นำมาทุบหรือฝานทาในบริเวณที่เป็นแผล

  4. ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด โดยใช้น้ำที่คั้นจากกระเทียมสดทาบริเวณที่เป็น

  5. ลดอาการปวดฟันจากฟันผุ โดยใช้กระเทียมสดสับละเอียดทุกฟันที่ผุ

  6. ใช้รักษาอาการปวดหู หูอื้อ หูตึง โดยใช้น้ำกระเทียมหยอดหูประมาณ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง

ข้อควรระวัง

  1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น

  2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี

  3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

  4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

ชื่อสามัญ Garlic

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn

ชื่อวงศ์ Alliaceae

ชื่ออื่นๆ กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) หอม หอมเทียม (ภาคใต้)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น