วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กล้วย

สรรพคุณ

กล้วยเหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเสริม สำหรับทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึง 2 ขวบ กล้วยสุกงอมจะให้สารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้แทนน้ำตาลได้ และไม่มีผลทำให้เกิดอาการผิดปกติ ต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะน้ำตาลที่เกิดจาก ขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะกล้วยสุก มีคุณสมบัติเฉพาะด้านคือ ทำให้มีฤทธิ์เป็นกรดในลำไส้ ช่วยให้เกลือแร่ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้ง่าย ถือว่าเป็น คุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่า จากธัญพืชอื่นๆ ยังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีเกลือแร่ที่จำเป็น ต่อร่างกายอีกหลายขนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก ทองแดง
  • ใบอ่อนของกล้วยอังไฟพอนิ่ม ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก

  • ก้านใบตองตำให้แหลกช่วยลดอาการบวมของฝี

  • หัวปลี ใช้บำรุงน้ำนม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

  • ผลกล้วยมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ

  • ในผลกล้วยสุกอุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงมีเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

สรรพคุณทางยา

  • กล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว

  • กล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย

  • ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ ปิดรักษาตาอักเสบ

  • หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย รักษาแผลสดได้ และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้

  • รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้รอ้นใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ

  • เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องเป็นประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม หรือคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก

ข้อควรระวัง

รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียได้

ชื่อสามัญ Banana, Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn., Musa paradisiaca var sapientum (Linn.) O. Kutze.

ชื่อวงศ์ Musaceae

ชื่ออื่นๆ กล้วยไข่, กล้วยใต้, กล้วยนาก, กล้วยน้ำว้า, กล้วยมณีอ่อง, กล้วยเล็บมือ, กล้วยส้ม, กล้วยหอม, กล้วยหอมจันทน์, กล้วยหักมุก, เจก, มะลิอ่อง, ยะไข่, สะกุย, แหลก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น