วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารต้านอนุมูลอิสระ

ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า กระบวนการออกซิเดชัน  (Oxidation) หรือการเกิดปฏิกิริยาออกซิไดส์ (Oxidise ) กันก่อนนะคะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ออกแนววิชาการไปนิดหนึ่ง แต่ก็เข้าใจได้ง่ายค่ะ

ออกซิเดชัน  (Oxidation)

ออกซิไดส์  (Oxidize) หรือ  ออกซิเดชัน  (Oxidation)  หมายถึง  ปฎิกิริยาจากออกซิเจน  ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ  ก็ทำนองเดียวกับการเกิดสนิมเหล็กที่ตัวถังรถยนต์นั่นเอง  การเกิดสนิมเป็นปฏิกิริยาออกซิไดส์ที่เหล็กสัมผัสกับออกซิเจนและความชื้นในอากาศ  และกลายเป็นสนิม  และในที่สุดรถก็จะผุพังไป  

กระบวนการออกซิเดชั่นเกิดขึ้นในร่างกายอยู่ตลอดเวลา จากการย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หรือเกิดจากมลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ สารพิษจากยาฆ่าแมลง รังสียูวี แม้กระทั่งสเปรย์ระงับกลิ่นตัว

ผลพลอยได้จากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) คือ อนุมูลอิสระ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้าวโพดหวาน


ข้าวโพดหวานเป็นมากกว่าอาหารว่าง หรือ อาหารทานเล่น เพราะข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็งและล้างพิษออกจากร่างกาย ชะลอความแก่ ป้องกันโรคต้อกระจก และโรคสมองเสื่อมในวัยชรา

มีรายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐอเมริกาว่าข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด โดยเขาได้ทดลองต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียส ในเวลานานต่างกัน คือ 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22%, 44% และ 53% ตามลำดับ และปลดปล่อยกรดเฟรุลิก (Ferulic acis) ซึ่งเป็นพวกพฤกษเคมีที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายสูงในด้านช่วยชะลอความแก่ ป้องกันโรคต้อกระจก และโรคสมองเสื่อมอันเนื่องมาจากความชรา ออกมามากขึ้นเป็นปริมาณ 240%, 550% และ 900% ตามลำดับ

สรรพคุณ

ข้าวโพดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง เพราะมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก แถมยังมีโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินที่มีประโยชน์อีกมากมาย เช่นวิตามินซี วิตามินเอซึ่งมาในรูปของเบต้าแคโรทีน วิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ลูเทียน และซีแซนทิน ซึ่งเป็นสารคาโรตีนอย ช่วยป้องกันตาเสื่อมสภาพ

สรรพคุณทางยา
  • ซังข้าวโพด นำมาต้มน้ำดื่มแก้บิด ท้องร่วง ขับปัสสาวะ
  • หนวด หรือ ไหมข้าวโพด นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำเนื่องจากไตอักเสบ เหน็บชา ดีซ่านที่เกิดจากตับอักเสบ ความดันโลหิตสูง ถุงน้ำดีอักเสบ เบาหวาน อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก
  • เมล็ดข้าวโพด มีรสหวาน ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ และนำมาบดพอกรักษาแผล

วิธีใช้
  1. แก้อาการบวมน้ำ ขับปัสสาวะ ใช้หนวดข้าวโพด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม และงดทาน
    ของเค็ม
  2. ไตอักเสบหรือนิ่วในไตระยะแรก ใช้หนวดข้าวโพดจำนวนพอประมาณ ต้มน้ำดื่ม
    เป็นประจำ
  3. อาเจียนเป็นโลหิต ใช้หนวดข้าวโพดจำนวนพอประมาณ เคี่ยวเอาน้ำ แล้วตุ๋นกับ
    เนื้อหมูแดง
  4. เบาหวาน ใช้หนวดข้าวโพด 30 กรัมต้มน้ำดื่มติดต่อกันหลายๆ วันจนอาการดีขึ้น
ชื่อสามัญ : ข้าวโพดหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.

ชื่อวงศ์ : Poaceae

ชื่ออื่น : ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออังกฤษ : Sweet Corn

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทอดมันข้าวโพด


ส่วนผสม
  •   ข้าวโพดหวาน  1 1/2  ถ้วยตวง
  •   หมูสับละเอียด  1/4  ถ้วยตวง   
  •   แป้งสาลีอเนกประสงค์  1/3  ถ้วยตวง  (ส่วนที่ 1)
  •   แป้งสาลีอเนกประสงค์  1/4  ถ้วยตวง  (ส่วนที่ 2)
  •   ไข่ไก่  1  ฟอง  
  •   เกลือ  1  ช้อนชา
  •   น้ำตาลทราย  1  ช้อนชา
  •   น้ำมันสำหรับทอด
วิธีทำ
  1. ข้าวโพดปอกเปลือกฝานบางๆ เอาแต่เนื้อข้าวโพด
  2. โขลกข้าวโพดที่ฝานแล้วเบาๆ ในครก โขลกพอให้ข้าวโพดมีน้ำออกมานิดหน่อย
    อย่าให้เละ
  3. ผสมข้าวโพด เนื้อหมูบด เกลือ น้ำตาลทราย ไข่ไก่ นวดให้เข้ากัน
  4. ผสมแป้งส่วนที่ 1 ลงในส่วนผสมข้าวโพด นวดจนเข้ากันดี
  5. นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่สะดวก แต่อย่าให้ใหญ่มาก เดี๋ยว
    ทอดแล้วข้างในไม่สุก แล้วกดให้แบนเล็กน้อย
  6. นำไปเคล้าแป้งสาลีแห้งส่วนที่ 2 บางๆ
  7. ตั้งกะทะน้ำมันให้ร้อนจัด ลดไฟลงเหลือปานกลาง
  8. นำส่วนผสมข้าวโพดลงทอดในน้ำมันจนสุกเหลือง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน เสิร์ฟ
    กับน้ำจิ้ม

ส่วนผสมน้ำจิ้ม
  • น้ำส้มสายชู  2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า  2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย  2  ช้อนโต๊ะ
  • เกลือป่น  1/2  ช้อนชา
  • พริกชี้ฟ้าแดงโขลกละเอียด  1  เม็ด
  • ถั่วลิสงคั่วบด  2  ช้อนโต๊ะ
  • แตงกวาหั่น  1  ผล

วิธีทำน้ำจิ้ม

  1. ผสมน้ำตาล น้ำเปล่า น้ำส้ม เกลือป่น ให้เข้ากัน ตั้งไฟเคี่ยวให้เดือดสักครู่ ยกลง
  2. ผสมพริกแดงโขลก ทิ้งให้เย็น เวลาเสิร์ฟใส่ถั่วลิสงคั่วป่น แตงกวา
สรรพคุณข้าวโพด
  1. ล้างสารพิษ
  2. ข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายได้สูง เนื่องจากว่ามันจะปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระออกมามาก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯ รายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกาว่าข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด เขาได้ทดลองต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียส ในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22%, 44% และ 53% ตามลำดับ
  3. ช่วยชะลอโรคต้อกระจก และโรคสมองเสื่อม อันเนื่องมาจากความชรา
  4. ข้าวโพดหวานที่ต้มหรือปิ้งจะปล่อยสารประกอบที่เรียกว่า กรดเฟรุลิก (Ferulic acid) อันเป็นคุณกับร่างกาย เมื่อข้าวโพดถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเวลานานขึ้นจะยิ่งปล่อยกรดนี้มากขึ้น จากการทดลองเดียวกันพบว่า เมื่อต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียส ในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้กรดเฟรุลิกถูกปล่อยออกมาเป็นปริมาณ 240%, 550% และ 900% ตามลำดับ กรดเฟรุลิกเป็นพวกพฤกษเคมีซึ่งในผักและผลไม้มีอยู่ไม่มากนัก แต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้าวโพดผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่น การทำให้มันสุกจึงช่วยทำให้มันปล่อยกรดเฟรุลิกออกมาได้มากขึ้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผักชี


ผักชีเป็นพืชผักสวนครัว ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนของ ใบ ก้าน ราก โดยนิยมนำมาบริโภคเป็นผักสด ใช้ตกแต่งจานอาหารให้น่ารับประทาน และใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิด และยังช่วยทำให้อาหารมีกลิ่นหอม และรสชาติดีอีกด้วย

สรรพคุณ 
  • ช่วยรักษาอาการปวดท้อง และช่วยย่อยอาหาร
  • ใบสด ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใย ฟอสฟอรัส เบต้าเคโรทีน
  • ผล หรือลูกผักชี มีน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเหล้ายิน

สรรพคุณทางยา

ต้นและใบ
  • ผักชีใชัในการช่วยย่อยอาหาร บำรุงกระเพาะ เจริญอาหาร ขับลม ขับพิษ ขับเหงื่อ  ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด แก้ตับอักเสบ
  • พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง 
  • ลดการปวดบวมข้อ
  • ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด แก้สะอึก
  • แก้อาหารเป็นพิษ  กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ
  • มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้ถนอมอาหาร

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผักชีฝรั่ง



ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย หรือซอยใส่ในอาหารประเภทยำ ต้มยำ  เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้ ในทางการแพทย์สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ ใบสด เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปาก

สรรพคุณ
  • ใบหรือทั้งต้น นำมาทาหรือพอกแก้อาการอักเสบของพิษงู แมงป่อง ตะขาบ และแมลงมีพิษกัดต่อย
  • น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากกิ่งและใบ ช่วยบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม หน้ามืด ตาลาย

สรรพคุณทางยา

ใบและใบอ่อน 
  • ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด
  • ใช้ดับกลิ่นปากได้ดี เพราะมีน้ำมันหอมระเหย
  • มีสารต้านมะเร็ง ทำให้สารก่อมะเร็งในยาสูบไม่ออกฤทธิ์

ลำต้น
  • นำลำต้นของผักชีฝรั่งมาตำผสมกับน้ำมันงา แล้วหมกไฟให้สุก นำมาประคบแก้ปวดเมื่อยได้ดี
  • นำลำต้นผักชีฝรั่งมาต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้ไข้มาลาเรีย หรือใช้เป็นยาถ่าย
  • นำลำต้นผักชีฝรั่งมาตำแล้วใช้พอกแก้พิษงู ฆ่าเชื้อโรค
  • นอกจากนี้ลำต้นผักชีฝรั่งยังใช้ขับปัสสาวะ
  • ช่วยทำให้เล็บ ผม และผิวหนังแข็งแรง
  • ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ
  • ใช้ลดความดันโลหิตได้
ในแม่ที่กำลังให้นมลูก ควรให้รับประทานผักชีฝรั่ง เพื่อให้สามารถทดแทนธาตุเหล็กที่เสียไปได้ โดยใช้ทำเป็นน้ำชาดื่ม ควรดื่มวันละ 2-3 ถ้วย จะช่วยรักษาสมดุลของอารมณ์ได้เป็นอย่างดี

เมล็ด
  • เมล็ดผักชีฝรั่ง นำมาใช้ทำ Gripe water สำหรับขับลมในกระเพาะได้ดี

ข้อควรระวัง สำหรับสุภาพสตรีไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์


ชื่อสามัญ : ผักชีฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum L.

ชื่อวงศ์ : Umbelliferae

ชื่ออังกฤษ :  Parsley, Sawtooth corianser, Spiny coriander, long coriander, Culantro

ชื่ออื่นๆ : ผักชีลาว, ผักหอมเทศ, ผักชีดอย, หอมป้อมกุลา(ภาคเหนือ), ผักชีใบเลื่อย, ผักหอมเป (ภาคอีสาน), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม, หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร)

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ต้นหอม


สรรพคุณ
  • มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสม กับการดูดซึมของร่างกาย
  • มีสารเควิซิทีนที่เป็นเกราะกันมะเร็งให้กับคนเราได้
  • แก้หวัด คัดจมูก จากน้ำมันหอมระเหยในหัวหอม
  • ใช้ประกอบอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และใช้โรยหน้าอาหารให้สวยงาม เช่นเดียวกับผักชี

 สรรพคุณทางยา 
  • ต้นหอมส่วนใกล้ราก เรียกว่า หอมขาว ใช้เป็นยาได้ ส่วนนี้มีกลิ่นเผ็ดร้อน มีคุณลักษณะอุ่น มีสรรพคุณแก้ร้อนใน
  • ต้นหอมมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อโรคบิด เชื้อสแตปฟลิโลค๊อกคัส และเชื้อโรคผิวหนังได้
  • ต้นหอมช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ
  • ถ้ากินต้นหอมสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  • น้ำมันในหัวหอมเป็นยาขับเสมหะ บรรเทาอาการคัดจมูก
  • ใบสดตำแล้วพอกตรงที่ถูกแมลง กัดต่อย แก้ปวดได้ชะงัด

วิธีใช้ 
  1. นำต้นหอม 5-6 ต้น ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้
  2. อากาศหนาวเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ให้นำหอมขาว 30 กรัม ต้มน้ำให้เดือด 10 นาที แล้วนำมากินโดยแบ่งเป็น 2 ครั้ง แล้วกินโจ๊กร้อนตาม 1 ชาม นอนห่มผ้าห่ม ให้เหงื่ออก อาการจะทุเลา
  3. ใช้หอมขาว ขิงสด และน้ำตาลแดงต้มพร้อมกัน ทำเป็นยาน้ำกิน ได้ผลดียิ่ง
  4. ผู้ที่ไอเพราะโดนความเย็น ให้นำหอมขาว 15 กรัม สาลี่ 1 ผล น้ำตาล 30 กรัม ต้มดื่ม พร้อมกับกินหอมขาว และสาลี่
  5. ผู้ที่เป็นโรคอาหารไม่ย่อย ใช้หอมขาว 10 กรัมต้มน้ำแล้วดื่ม มีสรรพคุณในการช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรงขึ้น
  6. ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบหรือหัวหอมทุบพอแตกใส่ในเหล้าขาว

ชื่อสามัญ : Green Shallot

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alliumcepa var. aggregatum

ชื่อวงศ์ : Alliaceae

ชื่ออังกฤษ : Spring Onion หรือ Green Shallot

ชื่ออื่นๆ : หอมแบ่ง, ใบหอม (ภาคเหนือ)

สะระแหน่


สะระแหน่นั้นมีสรรพคุณมากมาย ใบและลำต้นสะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) เป็นต้น ใบสะระแหน่จึงมีคุณสมบัติในการแต่งกลิ่น แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

นอกจากนี้สะระแหน่ยังมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 2 วิตามินซี ปัจจุบันได้สกัดสารจากสะระแหน่ไปใช้ทำลูกอมสะระแหน่ไว้ใช้อม หรือที่เรียกว่า ลูกอมมินต์

สรรพคุณ
  • เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดได้
  • แก้อาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ โดยนำน้ำที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม ก็จะช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  • ดับกลิ่นปากก็ยังได้ โดยการกินสดๆ
  • การบริโภคสะระแหน่ ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ นอนหลับสบาย
  • บำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
  • บำรุงหัวใจ ต้านมะเร็ง เพราะสะระแหน่มีเบต้าแคโรทีนสูง

สรรพคุณทางยา
  • แก้อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น ให้ดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • แก้อาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด ใช้ใบสะระแหน่ต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ทำได้โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณที่โดนกัด อย่าลืมว่าใบสะระแหน่ที่สดและอ่อน จะมีคุณค่ามากกว่าใบสะระแหน่แห้ง
  • ช่วยดับกลิ่นคาว ยอดสะระแหน่นั้นรับประทานเป็นผักสดก็ได้ หรือกินกับน้ำพริก ลาบ น้ำตก พล่า ยำ หรือแต่งกลิ่นหอม ๆ ใส่ต้มยำ ช่วยดับกลิ่นได้ดี
  • แก้อาการอาหารไม่ย่อย โดยใช้ใบสะระแหน่ต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้หวัดน้ำมูกไหลจามไอบ่อย ๆ หรือจะเป็นไข้หวัด ใช้ใบสะระแหน่ต้มกับเต้าหู้ดื่ม
  • แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ แก้ปวดบวมผื่นคัน ใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดพอกหรือทา
  • ห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  • รักษาแผลในปาก ใช้ใบสะระแหน่ต้มใส่เกลือเล็กน้อยดื่ม
  • แก้อาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  • แก้อาการหน้ามืดตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิง

ชื่อสามัญ : สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metha cordifolia Opiz.

ชื่อวงศ์ : Labiatae

ชื่ออื่น : หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), ขะแยะ (อีสาน)

ชื่ออังกฤษ : Kitchen Mint, Marsh Mint


ที่มา : http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/herb/herb0021.html

โหระพา


โหระพา เป็นผักสวนครัว พืชริมรั้ว อยู่คู่ครัวไทยมาแต่ครั้งโบราณกาล รู้ไหมว่าผักพื้นบ้านธรรมดาเรานี่แหละแต่ให้คุณประโยชน์มากมาย

สรรพคุณ

  • ใบโหระพาสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ
  • ใบโหระพา้มีีธาตุแคลเซียมสูง
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สามารถแต่งกลิ่นเครืองสำอางบางชนิด
  • เมล็ดโหระพาเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร
  • ใบโหระพาเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรค เช่น โรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็ง
  • ใบโหระพามีกลิ่นเฉพาะใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหาร

น้ำมันโหระพา

น้ำมันโหระพา เป็นน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยให้สบายท้องขึ้น มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการเครียด
ข้อควรระวังในการใช้คือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

 สรรพคุณทางยา

ใบ
  • ใบสดของโหระพานำมาต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณแก้ท้องอืด เฟ้อ ขับลมจากลำไส้
  • ใช้ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ แผลอักเสบ
  • ต้มใบและต้นสดเข้าด้วยกัน ต้มเอาน้ำดื่ม แก้หวัด ขับเหงื่อ
  • ถ้าเด็กปวดท้อง ใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่มแทนยาขับลมได้
  • ใบโหระพาแห้งต้มกับน้ำ มีสรรพคุณต้านเชื้อก่อโรค
เมล็ด
  • ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือแช่น้ำกิน เป็นยาระบาย

 ราก
  • ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้พอก บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนอง

 ลำต้น
  • ใช้ลำต้นสด ประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำ ใช้หยอดหูแก้ปวดหู
  • รักษาโรคเข่าเสื่อม โดยการนำโหระพาทั้งต้นไม่ต้องเด็ดรากทิ้ง กะพอประมาณใช้พอกเข่าได้มิด จากนั้นนำไปล้างให้สะอาด ตำพอละเอียดใส่เหล้าขาว 40 ดีกรีเล็กน้อยคนให้เข้ากัน ก่อนนำไปตั้งไฟแค่พอร้อน (ไม่ต้องถึงกับเดือด) ทิ้งไว้ให้อุ่น นำไปพอกเข่าประมาณ 10-15 นาที ทำวันละ 1-2 ครั้ง

ชื่อสามัญ : โหระพา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum Linn.

ชื่อวงศ์ : Labiatae

ชื่ออื่น: กอมก้อ (ภาคเหนือและอีสาน), นางพญาร้อยชู้, โหระพาไทย, โหระพาเทศ, ห่อกวยซวย, ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อภาษาอังกฤษ: Sweet Basil, Thai Basil

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข่า

ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในตระกูลขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยมาช้านาน ส่วนที่นำมาประกอบอาหาร คือ เหง้า

สรรพคุณ
  • ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ขับน้ำดี
  • ขับลม
  • ลดการอักเสบ
  • ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ฆ่าเชื้อรา
  • ทารักษากลาก เกลื้อน

 สรรพคุณทางยา 
  • บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยการใช้เหง้าสด ต้มเอาน้ำดื่ม
  • ทารักษากลาก เกลื้อน โดยใช้เหง้าสดผสมเหล้าโรงทา

 วิธีการใช้ข่ารักษากลาก เกลื้อน 
  1. ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา
  2. เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย
  3. เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด
  4. เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี
  5. ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง
  6. ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

วิธีการใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด 
  1. ใช้เหง้าสด 5 กรัม หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม
  2. กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม

ชื่อสามัญ : ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (Linn.)

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่นๆ : กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) ข่าหยวก (ภาคเหนือ) ข่าหลวง (ภาคอีสาน) สะเอเชย  หรือ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Glalangal, Greater Galangal,Chinese Ginger

ที่มา : http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/alpinia.html

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เบต้าแคโรทีน คืออะไร?



"เบต้าแคโรทีน" (Beta-carotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้ โดยปกติร่างกายของมนุษย์เราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Anti-Oxidant) ด้วย

เมื่อร่างกายได้รับเบต้าแคโรทีนเข้าไปก็จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ที่เยื่อบุผนังลำไส้ โดยเบต้าแคโรทีน 6 ไมโครกรัม จะได้วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม

เบต้าแคโรทีนมีในพืชสีเหลืองและสีส้ม ทั้งแครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียวอย่างบร็อกโคลี่ มะระ ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตำลึง  ต้นหอม โหระพา สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง ผักชี เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบังไว้)

ประโยชน์ที่เบต้าแคโรทีนให้แก่ร่างกาย 
  1. ดูแลรักษาผิวพรรณให้ผ่องใส ไม่เหี่ยวย่น 
  2. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งโดยตรง การลดปริมาณอนุมูลอิสระ คือ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกายเท่ากับลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  3. บำรุงสุขภาพสายตา เบต้าแคโรทีนเมื่อถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอแล้ว ร่างกายจะนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซินในดวงตาส่วนเรตินา ทำให้ตามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกด้วย 
  4. ชะลอความแก่ เบต้าแคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่

การได้รับสารเบต้าแคโรทีนมากเกินไป มีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ ?

เนื่องจาก สารเบต้าแคโรทีน คือ สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่เมื่อร่างกายได้รับมากกว่าความต้องการ จะหันไปทำหน้าที่ในทางตรงกับข้าม โดยกลายตัวเป็น “Pro-Oxidant” ซึ่งเป็นสารที่ส่งเสริม “การเกิด” อนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง

หากเรารับสารต้านอนุมูลอิสระจากการกินอาหารโดยปกติ โอกาสที่จะได้รับสารนี้มากเกินความต้องการของร่ายกาย จะน้อยกว่าการกิน “อาหารเสริมเบต้าแคโรทีน” โดยตรง เพราะอาหารเสริมจะมีสารนี้สูงมาก เนื่องจากอยู่ในรูปของสารเข้มข้น ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไป การกินอาหารปกติที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ข้อควรระวัง

การบริโภคเบต้าแคโรทีนในรูปแบบของอาหารเสริมที่มากเกินไป อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

กระชาย



กระชายเหลือง มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก มีกลิ่นหอม นิยมใช้แต่งรสชาติอาหาร เช่น ใส่ในผัดเผ็ด แกง ที่ใช้เนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาว หรือใช้เป็นเครื่องปรุงเพิ่มความหอม เช่น ใส่ในน้ำยาของขนมจีนน้ำยา แกงป่า กระชายมี 3 ประเภท คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง ที่ใช้ประกอบอาหารคือ กระชายเหลือง

สรรพคุณ

หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้าน

สรรพคุณทางยา
  1. แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ  แก้ลมจุกเสียด
    • น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัว ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร
    • สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด
    • สาร cineole ในกระชายมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง
  2. แก้โรคกระเพาะ
    • สารสกัดจากรากกระชาย มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
    • สารสกัดจากรากกระชายนอกจากจะฆ่าเชื้อสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารแล้ว ยัง มีฤทธิ์ลดการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  3. แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน
    • สาร pinostrobin ที่สกัดจากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก 3 ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes, Microsporum gypseum และ Epidermophyton floccosum
    • สารสกัดจากกระชาย มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาว
  4. เป็นยาอายุวัฒนะ รากกระชายมีสาร pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรงดีไม่มีโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้อย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
  5. เป็นอาหารเสริมป้องกันการเกิดมะเร็ง
    • สาร pinostrobin จากกระชายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ
    • สาร pinostrobin จากกระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ topoisomerase I ในกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง
    • สาร pinostrobin จากกระชายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของมนุษย์
  6. บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED)เนื่องจากสาร cardamonin และ alpinetin จากกระชาย มีฤทธิ์คลายผนังหลอดเลือดแดงมีเซ็นเทอริก (mesenteric arteries) 
  7. ฤทธิ์ต้านจุลชีพสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากกระชายมีฤทธิ์ต้านการเจริญของพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง