วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง

 วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง

  • งดอาหารประเภทดองเค็ม เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผัก ผลไม้ดองเค็มทุกชนิด
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือมาก เช่น กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา ปลาร้า เต้าหู้ยี้
  • งดสิงปรุงแต่งจำพวกซุปก้อน ซุปผง รวมทั้งผงชูรสต่างๆ หรือผงปรุงรสที่ใส่มาในซองบะหมี่สำเร็จรูป
  • เมื่อปรุงอาหารด้วยเกลือ น้ำปลา ซอสที่มีรสเค็ม ควรใส่ปริมาณน้อยๆ

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

  • รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง ข้าวสาร หัวหอม พริกแห้ง มะละกอสุก (ผิวเน่า) ถ้าพบว่ามีราสีดำให้ทิ้งได้ทันที
  • รับประทานผัก ผลไม้ ที่สด สะอาด และปลอดสารพิษ จะช่วยให้ร่างกายได้รับใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ
  • งด หรือ ลด อาหารปิ้งย่าง ทอด ด้วยไฟแรงจนมีควัน และอาหารไหม้เกรียม เช่น หมูย่าง ไก่ย่าง
  • งด หรือ ลด อาหารเนื้อสัตว์ที่ใส่ดินประสิว เช่น แหนมเนื้อ หรือ ปลาแดดเดียว แฮม เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์หมัก เช่น กะปิ ปลาร้า หอยดอง หากจะรับประทานต้องใช้ความร้อนทำให้สุกก่อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและมันจัด
  • ระวังอย่าให้ท้องผูก 
  • งดสูบบุหรี่ 
  • ทำจิตใจให้สบายคลายความเครียด



วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคกระดูกโปร่งบาง

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคกระดูกโปร่งบาง
 
  • เริ่มดื่มนมและออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ตลอดไปจนถึงวัยสูงอายุ
  • รับประทานอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  • ออกกำลังกายกลางแจ้งด้วยวิธีที่กระดูกรับน้ำหนัก เช่น การเดินเป็นประจำสม่ำเสมอ

จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนในด้านการบริโภคเพื่อป้องกันโรคความเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิต กระดูกโปร่งบางและมะเร็ง คือการเลือกอาหารหลัก 5 หมู่ ให้ดีที่สุด ประกอบกับจิตสำนึกในการบริโภคเพื่อป้องกันโรค ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันนี้และตลอดไป อย่ารอให้โรคความจำเสื่อมมาเยือน อาจสายเกินไป เราสามารถชะลอและป้องกันมิให้เกิดโรคได้

กินอย่างไรให้ห่างไกลโรคในวัยทอง

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีต้องอาศัยความรู้เรื่องคุณค่าของอาหาร ประกอบกับการมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่ารับประทานตามใจปาก

หลักปฏิบัติในการเลือกอาหาร
  • เลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการดี
  • เลือกอาหารที่ประหยัด คือ อาหารหาง่ายตามท้องถิ่น หรือมีตามฤดูกาล
  • เลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษทั้งปวง เช่น หลีกเลี่ยงอาหารแต่งกลิ่น สีสังเคราะห์ เป็นต้น
  • เลือกอาหารให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจ
ข้าว ควรเป็นข้าวที่ไม่ขัดขาว ซึ่งจะได้รับใยอาหารและวิตามินที่ป้องกันโรคเหน็บชามากกว่าข้าวขาว

เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา ควรบริโภคทั้งปลาน้ำจืดที่หาง่ายในท้องถิ่น และปลาทะเลซึ่งอุดมด้วยไอโอดีนเพื่อป้องกันคอพอก และปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซะบะ ซึ่งมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือด พร้อมกับบริโภคเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่ไม่มีมัน เช่น สันในไก่ สันในหมู

นม เมื่อเข้าสู่วัยทองแม้เกลือแร่จะออกจากกระดูกไปบ้างตามธรรมชาติ แต่กระดูกก็ยังมีเกลือแร่และความหนาแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องดื่มนมเพื่อรักษาความหนาแน่นของกระดูก

ถั่ว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วเขียวมีใยอาหารมาก หญิงวัยหมดประจำเดือน ควรดื่มนมถั่วเหลือง วันละ 1-2 แก้ว เพราะนมถั่วเหลืองมีสสารช่วยละโคเลสเตอรอลและชะลอการเกิดโรคกระดูกโปร่งบางในวัยสูงอายุ

ไขมัน เลือกไขมันที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด คือ น้ำมันถั่วเหลือง ผสม น้ำมันรำข้าว 1:1 ในการประกอบอาหาร เพื่อป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง อันจะนำไปสู่ภาวะหัวใจหรือสมองขาดเลือด ควรงดอาหารที่ทอดอมน้ำมัน แกงกะทิ ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น เนย เนยเทียม

ผัก เลือกผักจำพวกใบและมีสีเขียวเข้ม เช่น ใบ ตำลึง ผักกาด กวางตุ้ง คะน้ำ ผักจำพวกผล หัว สีแสดเข้ม มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น มะเขือเทศสุก แครอท

ผลไม้ ได้รับวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร การรับประทานผลไม้จะได้ประโยชน์มากกว่าการดื่มน้ำผลไม้ เพราะได้รับใยอาหารไปด้วยในคราวเดียวกัน