หลักปฏิบัติในการเลือกอาหาร
- เลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการดี
- เลือกอาหารที่ประหยัด คือ อาหารหาง่ายตามท้องถิ่น หรือมีตามฤดูกาล
- เลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษทั้งปวง เช่น หลีกเลี่ยงอาหารแต่งกลิ่น สีสังเคราะห์ เป็นต้น
- เลือกอาหารให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจ
เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา ควรบริโภคทั้งปลาน้ำจืดที่หาง่ายในท้องถิ่น และปลาทะเลซึ่งอุดมด้วยไอโอดีนเพื่อป้องกันคอพอก และปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซะบะ ซึ่งมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือด พร้อมกับบริโภคเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่ไม่มีมัน เช่น สันในไก่ สันในหมู
นม เมื่อเข้าสู่วัยทองแม้เกลือแร่จะออกจากกระดูกไปบ้างตามธรรมชาติ แต่กระดูกก็ยังมีเกลือแร่และความหนาแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องดื่มนมเพื่อรักษาความหนาแน่นของกระดูก
ถั่ว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วเขียวมีใยอาหารมาก หญิงวัยหมดประจำเดือน ควรดื่มนมถั่วเหลือง วันละ 1-2 แก้ว เพราะนมถั่วเหลืองมีสสารช่วยละโคเลสเตอรอลและชะลอการเกิดโรคกระดูกโปร่งบางในวัยสูงอายุ
ไขมัน เลือกไขมันที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด คือ น้ำมันถั่วเหลือง ผสม น้ำมันรำข้าว 1:1 ในการประกอบอาหาร เพื่อป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง อันจะนำไปสู่ภาวะหัวใจหรือสมองขาดเลือด ควรงดอาหารที่ทอดอมน้ำมัน แกงกะทิ ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น เนย เนยเทียม
ผัก เลือกผักจำพวกใบและมีสีเขียวเข้ม เช่น ใบ ตำลึง ผักกาด กวางตุ้ง คะน้ำ ผักจำพวกผล หัว สีแสดเข้ม มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น มะเขือเทศสุก แครอท
ผลไม้ ได้รับวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร การรับประทานผลไม้จะได้ประโยชน์มากกว่าการดื่มน้ำผลไม้ เพราะได้รับใยอาหารไปด้วยในคราวเดียวกัน
วัยทอง คงต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
ตอบลบ