วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แกงส้มดอกแค

เครื่องปรุง
  • ดอกแค (เด็ดเกสรออก) 3 ถ้วย
  • กุ้งแม่น้ำ 3 ตัว
  • น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะขามเปียก 3-4 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำ 2 ถ้วย
เครื่องแกง
  • พริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
  • หอมแดงซอย 5 หัว
  • กระเทียม 7 กลีบ
  • ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
  • เกลือป่น 1 ช้อนชา
  • กะปิ 1 ช้อนชา
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด

วิธีทำ
  1. ย่างกุ้ง 1 ตัวให้สุกหอม แกะเปลือกออก เอาเนื้อและมันโขลกรวมกับเครื่องแกงจนเนื้อเหนียวดี
  2. ตั้งหม้อน้ำให้เดือด ตักเครื่องแกงที่โขลกลงละลายในหม้อน้ำ
  3. แกะเปลือกกุ้งที่เหลือออก ไว้หัวไว้หาง ผ่าหลังชักเส้นดำออก ใส่ลงในหม้อแกง ต้มพอสุก
  4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำตาล พอเดือดใส่ดอกแค ปิดฝาให้เดือดและดอกแคสุก ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟ

สรรพคุณ

ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ นอกจากนี้ยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก ลดโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง



ดอกแคบ้าน


คอกแคบ้าน
 สรรพคุณ
แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ดอกแคและยอดแคจึงช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง

สรรพคุณดอกแคและต้นแค
สรรพคุณทางยา

ยอดแคอ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน สรรพคุณ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้

ดอกแค รสหวาน ออกขมเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ไข้หัวลม

คุณค่าทางอาหารที่ได้รับจากยอดแคมากกว่าดอกแคเสียอีก ดูจากตารางเปรียบเทียบ โดยวัดจากยอดแคและดอกแคปริมาณ 100 กรัม เท่าๆกัน



ชื่อสามัญ แคบ้าน (Vegetable Humming Bird , Cork Wood Tree)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora ( L. ) Pers.

ชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae

ชื่ออื่นๆ แคขาว แคแดง แคบ้าน แคแน แคตุ้ย แคบีฮ้อ แคผา ดอกแก


ต้นแค
ต้นแคบ้าน

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis

กระดูกพรุน คือ ภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหัก หรือยุบตัวได้โดยง่าย

จุดที่มีการหักบ่อย ได้แก่
กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ก่อให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ ซึ่ง 50% ของสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน จัดได้ว่าเป็นภัยเงียบร้ายแรงสำหรับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีแล้วราว 7 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ป่วยจะแสดงอาการเมื่อโรคเข้าสู่ระยะที่รุนแรง ทั้งอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นกระดูกหัก ทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และอาจพิการถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก และมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทุพพลภาพ การสูญเสียทางเศรษฐกิจและการสูญเสียชีวิต เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการแบบทันทีทันใด อาการแสดงจะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ซึ่งการที่จะช่วยส่งเสริมให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่นในระดับสูงสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูดพรุน ผู้สูงอายุควรมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการ ดังต่อไปนี้

1. การบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง

เนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก การเก็บหรือซ่อมแซมการสูญเสียกระดูกจะไม่เกิดขึ้นถ้าร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ และมีรายงานการศึกษาพบว่าแบบแผนการบริโภคอาหารของคนไทยจะได้รับแคลเซียมจากอาหารต่ำมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ควรได้ในแต่ละวัน คือ เฉลี่ยรับละ 384 มก./วัน ขณะที่ปริมาณที่ควรได้รับคือ 800 มก./วัน ทำให้มีแคลเซียมสะสมอยู่เนื้อกระดูกน้อยอยู่แล้วดังนั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น จึงยิ่งจำเป็นที่จะต้องรักษาปริมาณแคลเซียมนั้นไว้ให้ดีที่สุด ดังนั้นในผู้สูงอายุจึงต้องรับประทานอาหาร ที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาความความหนาแน่นของเนื้อกระดูกและป้องกันการเกิดโรคกระพรุน

สำหรับแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต เป็นต้น ในน้ำนมจะมีปริมาณแคลเซียมสูง คือ 240 มิลลิกรัมต่อปริมาณของน้ำนม 200 มิลลิลิตรและแคลเซียมในน้ำนมจะอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที ส่วนแคลเซียมในอาหารจะจับกับสารอาหารอื่น ๆ ทำให้สัดส่วนการดูดซึมลดลง ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถบริโภคนมเนื่องจากไม่มีเอ็นไซม์สำหรับย่อยนม ทำให้มีอาการท้องเดิน สามารถรับประทานอาหารอื่นๆ ที่มีแคลเซียมสูงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทย ได้แก่ นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย ปลาไส้ตัน กุ้งฝอย กะปิ กุ้งแห้ง เต้าหู้ ถั่วเหลือง งาดำ ผักคะน้า มะเขือพวง ใบยอ เป็นต้น

การเพิ่มการบริโภคแคลเซียม ควรเป็นการเพิ่มการบริโภคโดยใช้อาหารเป็นหลักไม่แนะนำให้บริโภคในรูปสารสังเคราะห์ยกเว้นการอยู่ในความดูแลแพทย์ เพราะอาจเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ได้กรณีที่ได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณที่มากเกิน คือ มากกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจก่อให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึม หมดสติ เกิดนิ่วในไต ผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ท้องผูก แน่นท้องเป็นต้น

2. การบริโภคอาหารที่มีวิตามินดี

เนื่องจากวิตามินดีเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อกระดูก ช่วยสร้างโปรตีนในการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปโดยปกติและช่วยในการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ในคนสูงอายุมีโอกาสขาดวิตามินดีค่อนข้างมากเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีในปริมาณน้อยและได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ซึ่งโดยปกติร่างกายควรได้รับวิตามินดี 600-800 IU/วัน เมล็ดธัญญาพืชทั้งเปลือก ขนมบัว มาการีนและจากแสงแดด เป็นต้น ดังนั้นเพื่อการมีกระดูกที่แข็งแรงร่างกายควรได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ทุกวันอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที/วัน

3. การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่
  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์จำนวนมาก เนื่องจากสารกลูคากอนที่เกิดจากการเผาผลาญจากสารอาหารโปรตีน จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นการรับประทานอาหารเหล่านี้จำนวนมากจึงทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้นและขับแคลเซียมตามออกมาด้วย จึงทำให้การสูญเสียแคลเซียมจากร่างกายทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เนื่องจากน้ำชา กาแฟ มีส่วนประกอบของคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคน้ำอัดลม เนื่องจากมีส่วนผสมของฟอสฟอรัสสูงฟอสฟอรัสจะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเสียสมดุล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ได้ตามปกติ จึงทำให้แคลเซียมในร่างกายลดลงได้

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคสุรา เนื่องจากแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย และทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากนั้นจะทำให้แคลเซียมลดต่ำลง

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตีนในบุหรี่ขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้ ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ลดลง

  • การหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคยาบางชนิด เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหารที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ยาบางประเภท เช่น ยาสเตรียรอยด์ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาป้องกันอาการชัก ฮอร์โมนธัยรอยด์ เฮพาริน มีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง และทำให้มีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงในที่สุด

การที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ประกอบกับการที่ผู้บริโภคยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะเผลอตัวไปกับกระแสสังคมที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วจนทำให้ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารการกินเท่าที่ควร ทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ไม่พึงประสงค์ มีการกินอาหารบางอย่างมากเกินไป บางอย่างน้อยเกินไปทำให้ได้รับคุณค่าอาหารที่ไม่สมดุลเป็นผลให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัว การกินอาหารมิใช่จะเป็นเพียงการกินเพื่อให้อิ่มหรือเพื่อให้ยังชีพ แต่จำเป็นที่ต้องกินเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ไม่เป็นโรค และมีจิตใจแจ่มใสเพื่อให้มีหลักของการบริโภคอาหารที่ดี


วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คนชอบดื่มน้ำเย็น ต้องอ่าน

บทความนี้ได้รับมาจากอีเมล์ จริงเท็จประการใด ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ที่นำมาเผยแพร่ก็เพราะคิดว่า การดื่มน้ำเย็นจัดเกินไป หรือดื่มน้ำร้อนจัดเกินไป ไม่ใช่สิ่งดี ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ให้เดินทางสายกลาง จะดีที่สุด

EFFECTS OF COLD WATER
Please be a true friend and send this article
to all your friends you care about.


For those who like to drink cold water, this article is applicable to you.
บทความนี้ สำหรับคนที่ชอบดื่มน้ำเย็น โดยเฉพาะ
It is nice to have a cup of cold drink after a meal. However, the cold water will solidify the oily stuff that you have just consumed.
เวลาได้ดื่มน้ำเย็นๆ สักแก้ว หลังอาหาร รู้สึกมันชื่นใจดีใช่มั้ยครับ
แต่ว่า น้ำเย็นจะทำให้ไขมันที่คุณเพิ่งกินเข้าไปเมื่อกี๊จับตัวเป็นไขขึ้นมา

It will slow down the digestion. Once this 'sludge' reacts with the acid, it will break down and be absorbed by the intestine faster than the solid food. It will line the intestine. Very soon, this will turn into fats and lead to cancer. It is best to drink hot soup or warm water after a meal.
ซึ่งจะส่งผลให้การย่อยอาหารช้าลง ถ้าคราบไขมันเหล่านี้ไปทำปฏิกิริยากับกรด มันจะแตกตัวแล้วจะถูกดูดซึมไปที่ลำไส้ ไขมันที่แตกตัวนี้จะดูดซึมได้เร็วกว่าอาหารทั่วไป แล้วก็จะเริ่มเคลือบลำไส้ของเราไว้ (ด้านใน) ในไม่ช้า มันก็จะแปรสภาพเป็นไขมันก้อนๆ และเป็นบ่อเกิดของมะเร็งในที่สุด
ดังนั้น ควรดื่มน้ำอุ่นหลังอาหารดีกว่า


A serious note about heart attacks - You should know that not every heart attack symptom is going to be the left arm hurting. Be aware of intense pain in the jaw line.
ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของโรคหัวใจ เวลาที่เกิดอาการ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเจ็บที่แขนซ้ายเสมอไป
ถ้าคุณมีอาการปวดกรามหรือขากรรไกรก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจได้

You may never have the first chest pain during the course of a heart attack. Nausea and intense sweating are also common symptoms. 60% of people who have a heart attack while they are asleep do not wake up. Pain in the jaw can wake you fro m a sound sleep. Let's be careful and be aware. The more we know the better chance we could survive.
แม้ว่าคุณจะเป็นโรคหัวใจ แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีอาการเจ็บหน้าอก อาการเหงื่อออก คลื่นไส้ ก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับโรคทั่วๆไป 60 % ของคนที่โรคหัวใจกำเริบขณะหลับมันจะไม่ตื่น (อีกเลยรึเปล่าก็ไม่รู้) แต่อาการปวดกราม อาจจะทำให้คุณตื่นขึ้นมากลางดึกได้ ก็ให้ระวังดูแลตัวเอง ถ้ามีอาการเหล่านี้

A cardiologist says if everyone who reads this message sends it to 10 people, you can be sure that we'll save at least one life. Read this & Send the link to a friend. It could save a life. So, please be a true friend and send this article to all your friends you care about.
ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจกล่าวว่า ถ้าคุณช่วยส่งเมล์นี้ต่อให้คนอื่นๆ ซัก 10 คน อาจจะช่วยชีวิตคนไว้ได้
อย่างน้อยคนนึง

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อาหารกับสุขภาพ

ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องรับประทานอาหารมากมาย มีคำแนะนำจากหลายสำนักให้กินนั่น ห้ามกินนี่จนไม่รู้ จะเชื่อใครดี วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอย่างเต็มที่มาฝาก





10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

  1. กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง
  2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
  3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว
  4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ
  6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
  7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%
  8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย
  9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด
  10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้อ้วนได้

ถ้าปฏิบัติให้ได้ครบทุกข้อตามคำแนะนำข้างต้นนี้จนเป็นนิสัย สุขภาพดีๆ จะไปไหนเสีย !!


ออกกำลังกายเพื่อลดความอ้วน

บางคนชอบออกกำลังกายอย่างหักโหม 2-3 ชั่วโมง บางคน 3-4 ชั่วโมงนั้น จะทำให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป และเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับร่างกาย ก็จะมีผลให้อ้วนง่าย ดังนั้นเราควรออกกำลังกายแค่พอเหมาะวันละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วค่ะ

เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้เราออกกำลังกายเพื่อลดความอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพได้แก่
  1. ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพราะถ้าออกกำลังกายมากเกินไป แทนที่ร่างกายจะฟิต กลับต้องสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปแทน ทำให้ลดความอ้วนยากขึ้นอีก

  2. ก่อนออกกำลังกาย เราไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเกิน 4 ชั่วโมง เพราะไม่มีโปรตีนจากอาหาร แต่แทนที่จะเอาไขมันเก่ามาใช้ ร่างกายกลับดึงเอาโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน ร่างกายก็จะลดการเผาผลาญลง ก็จะอ้วนง่ายขึ้น แถมยังไม่กระชับอีกด้วย ดังนั้นควรกินโปรตีนก่อนออกกำลังกาย 10-15 นาทีเสมอ เช่น ไข่ต้ม+ผลไม้ หรือ นมพร่องมันเนย เป็นต้น หรือถ้าหลังอาหารมื้อหลักก็ควรรอสัก 1-2 ชั่วโมง เพราะขณะนั้นร่างกานยกำลังหลั่งโกรฮอร์โมน ซึ่งต้องใช้โปรตีนในการสร้างฮอร์โมนนี้ ซึ่งมันจะช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และกระตุ้นให้เอาไขมันสะสมออกมาเผาผลาญขณะออกกำลังกายอีกด้วย

  3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ ชา กาแฟ น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมปัง ชอกโกแลต ก่อนออกกำลังกายเด็ดขาด เพราะร่างกายจะเผาผลาญเอาแต่แป้งและน้ำตาลออกไปใช้แทน

  4. ควรออกกำลังกายช่วงเช้าจนถึงเที่ยงวัน เพราะเป็นการกระตุ้นการเผาผลาญพลงงานให้ทำงานได้ดีตลอดวัน

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ทำไมต้องออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการที่ต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง หลายคนก่อนจะออกกำลังมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมายเพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไรมีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง โรคภูมิแพ้ โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิตต่อไป นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย

การเริ่มต้นออกกำลังกาย หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่ายวิธีดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกายคือ ให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวัน เช่น

  • ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
  • หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
  • ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
  • ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
  • ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน

ทำกิจวัตรเหล่านั้นทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือน หลังจากเพิ่มกิจกรรมได้พักหนึ่งจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น

  • เดินให้เร็วขึ้นสลับกับเดินช้า
  • ขี่จักรยานนานขึ้น
  • ขึ้นบันไดหลายชั้นขึ้น
  • ขุดดิน ทำสวนนานขึ้น
  • ว่ายน้ำ
  • เต้น aerobic (แต่ไม่ต้องมาก)
  • เต้นรำ
  • เล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง

หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้วหากคุณต้องการฟิตร่างกายก็สามารถทำได้โดย

  • การวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
  • ว่ายน้ำนานขึ้น

เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ จะต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตซึ่งจะขาดไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร

  • เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด
  • ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี
  • ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย
  • บันทึกการออกกำลังกายไว้
  • หากเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง
  • ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป
  • ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก
  • ให้รางวัลเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย (ห้ามการเลี้ยงอาหาร)
  • ที่สำคัญการออกกำำลังแม้เพียงเล็กน้อยดีกว่าการไม่ออกกำลังกาย

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มะละกอ


สรรพคุณ

มะละกอ นอกจากรับประทานเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือน้ำมะละกอผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆก็ได้รสดียิ่ง น้ำมะละกอใช้ดื่มหลังอาหารจะช่วยย่อยอาหาร เพราะในเนื้อมะละกอนี้จะมีเอนไซม์ช่วยย่อยสารโปรตีนที่ชื่อว่า "ปาเปอีน (Papain)" ไม่เพียงเท่านี้ น้ำมะละกอยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ทำความสะอาดไต ช่วยให้เลือดแข็งตัว และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย

มะละกอสุกชิ้นขนาดกลาง อุดมไปด้วยคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ คือ แคลเซียม 61 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 49 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม โซเดียม 9 มิลลิกรัม โปรแตสเซียม 711 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5,320 I.U. วิตามินซี 170 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 31 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยา

ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย โดยใช้ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้

ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ โดยใช้เนื้อมะละกอดิบ ประกอบอาหารเพื่อช่วยย่อย

ราก - ขับปัสสาวะ

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

ชื่อสามัญ Papaya, Pawpaw, Tree melon

ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.

ชื่อวงศ์ Caricaceae

ชื่ออื่นๆ มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)

มะนาว


สรรพคุณ

น้ำมันจากผิวมะนาว ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด แต่งกลิ่น น้ำคั้นจากผลมะนาว รักษาอาการเจ็บคอ แก้ไอ ขับเสมหะ และรักษาโรคลักปิดลักเปิดซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินซี ผิวมะนาวมี น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย d-limonene, linalool, terpineol และ flavonoids

สรรพคุณทางยา

ใบ ใช้ใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินใช้ เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น

ผล ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นต้น

เปลือกผล ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม เป็นต้น

ราก ใช้รากสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือจากการหกล้มแก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้ากัด เป็นต้น



ข้อสังเกตุ
  1. แก้กระหายน้ำ คอแห้ง ไม่มีเสียง ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำประมาณ 1 ถ้วยชา และ ผสมกับเกลือ น้ำตาลทราย ในปริมาณพอเหมาะ จากนั้นก็นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือใช้ผสมกับน้ำแข็งรับประทาน

  2. เมื่อถูกแมงป่องต่อย หรือตะขาบกัด ให้ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ถูกกัด

  3. คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ให้ใช้เปลือกผลสด นำมาขยี้ผิวสูดดม

  4. ปวดฝี ให้ใช้รากสด นำมาฝนกับสุราแล้วใช้ทา

ชื่อสามัญ Common lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle

ชื่อวงศ์ Rutaceae

ชื่ออื่นๆ ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)



กระเทียม

สรรพคุณ

การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย

สารสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อนคือเอนไซม์อัลลิเนส (Allinase) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน (Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหาร น้ำ กรดไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดอะมิโน เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี ฯลฯ

สรรพคุณทางยา
  1. ใช้ขับเหงือ ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ โดยใช้กระเทียมสดครึ่งกิโลกรัม ทุบพอแตก แช่ในน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ประมาณ 1 สัปดาห์ รับประทานครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

  2. ใช้ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โดยใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร

  3. ใช้รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โดยใช้กระเทียมสดปอกเปลือก นำมาทุบหรือฝานทาในบริเวณที่เป็นแผล

  4. ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด โดยใช้น้ำที่คั้นจากกระเทียมสดทาบริเวณที่เป็น

  5. ลดอาการปวดฟันจากฟันผุ โดยใช้กระเทียมสดสับละเอียดทุกฟันที่ผุ

  6. ใช้รักษาอาการปวดหู หูอื้อ หูตึง โดยใช้น้ำกระเทียมหยอดหูประมาณ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง

ข้อควรระวัง

  1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น

  2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี

  3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

  4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

ชื่อสามัญ Garlic

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn

ชื่อวงศ์ Alliaceae

ชื่ออื่นๆ กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) หอม หอมเทียม (ภาคใต้)


มะระขี้นก


สรรพคุณ

ราก แก้พิษ รักษาริดสีดวงทวาร ฝาดสมาน แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน

เถา ยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อและเท้าบวม แก้ปวดตามข้อมือและนิ้วมือนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ ลดเสมหะ บำรุงน้ำดี แก้พิษดับร้อน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้

ใบ แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุย ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ขับลม แก้ธาตุไม่ปกติ ทำให้นอนหลับ แก้ปวดศีรษะ แก้พิษ แก้ไอเรื้อรัง ยาระบายอ่อน ๆ แก้เสียดท้อง บำรุงธาตุ ขับพยาธิเส้นด้าย ดับพิษฝีที่ร้อน รักษาแผล บำรุงน้ำดี แก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน ยาฟอกเลือด แก้ร้อนใน แก้ม้าม แก้ตับพิการ แก้ฟกบวมอักเสบ แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ ทำให้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ แก้บิด แผลฝีบวมอักเสบ เจริญอาหาร ฟอกโลหิต รัดถานและถอนไส้ฝี

ดอก แก้พิษ แก้บิด

ผล แก้พิษฝี แก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้โรคลมเข้าข้อ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู ดับพิษร้อน ถ่ายท้อง แก้พิษ ขับลม แก้คัน แก้ธาตุไม่ปกติ แก้เสียดท้อง แก้เจ็บปวดอักเสบ ระบายอ่อนๆ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง บำบัดโรคเบาหวาน ยาบำรุง ทาหิด ฝาดสมาน แก้โรคเม็ดผดผื่น คันในตัวเด็ก แก้พิษไข้ แก้หัวเข่าบวม แก้ปวดตามข้อ แก้ม้าม แก้ตับพิการ เจริญอาหาร ใช้มากๆ เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาโรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ ดับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวม เป็นหนอง ต้านมะเร็ง

เมล็ด แก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้านมะเร็ง

ทั้งห้าส่วน บำรุงน้ำดี ดับพิษทั้งปวง เจริญอาหาร บำรุงน้ำนม แก้ไข้

สรรพคุณทางยา

  • ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน โดยหั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคเอดส์ต้านเชื้อ HIV ใช้ผลอ่อนทำเป็นน้ำคั้น หรือบดเป็นผงใส่แคปซูล หรือยาลูกกลอน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีกว่ากินสดหรือต้ม แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB 30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้
  • ฤทธิ์ต้านมะเร็ง สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง คือ guanylate cyclase inhibitor สกัดได้จากผลสุก MAB 30 สกัดจากเนื้อผลสุกและเมล็ด momorchrin สกัดจากเมล็ด ผลและเมล็ดต้มน้ำดื่ม
  • ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกไม่จำกัดจำนวน ใช้ประกอบเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง
  • ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ใบสดมะระขี้นก 20-30 ใบ หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือ เล็กน้อย ช่วยกลบรสขม ดื่มแต่น้ำ ใช้ได้ดีสำหรับถ่ายพยาธิเข็มหมุด นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม
  • ทำให้อาเจียน ใช้เถาสด 1/3 กำมือ หรือ 6-20 กรัม เติมน้ำพอท่วมต้มให้เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ
  • รักษาชันนะตุและศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน ใช้ผลสดที่ยังไม่สุกหั่นเนื้อมะระแล้วตำคั้นเอาแต่น้ำ เติมดินสอพองลงในพอสมควร ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ
  • เป็นยาแก้ไข ใช้ผลมะระต้มน้ำแล้วดื่ม อาการตัวร้อนจะหายไป
  • แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันนำไปตากให้แห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชา ก็ได้
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่น ฝอย ต้มน้ำดื่ม
  • แก้บิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม
  • แก้บิดเฉียบพลัน ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม
  • แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • แก้บิดถ่าย เป็นมูกหรือเลือด ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูกใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือดให้ต้มน้ำดื่ม
  • แก้แผลบวม ใช้ผลสดตำพอก
  • แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก
  • แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าอื่น แก้ฝีบวมอักเสบใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก
  • แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก
  • แก้คัน แก้หิด และโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

ปัจจุบันมีผู้ผลิตมะระขี้นก เป็น แคปซูล ขายอยู่หลายราย เพราะสะดวกในการรับประทาน และไม่ต้องสัมผัสรสขม

ชื่อสามัญ Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucurber, Bitter gourd,Bitter melon, Carilla fruit

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn

ชื่อวงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออื่นๆ ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป
)


มะรุม

สรรพคุณ

มะรุมมีฤทธิ์ขับลมและจัดอยู่ในยารสร้อน ทานมากโดยไม่มีการขับออก ก็อาจทำให้โลหิตร้อนได้ โดยปกติยาไทยจะเข้ามะรุมเมื่อต้องการให้ยามีสรรพคุณในการขับลม แต่ปัจจุบันด้วยแนวคิดทานสมุนไพรแบบยาแผนปัจจุบัน จึงเกิดอาการข้างเคียง ถ้าจะทานสมุนไพร ควรทานเป็นอาหาร เช่น ยอดมะรุมลวกทานกับน้ำพริก หรือแกงส้มมะรุม ถ้าทานเช่นนี้จะไม่มีปัญหา

ใบมะรุม

  • มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัดมากกว่าส้ม ถึง 7 เท่า
  • มีธาตุแคลเซียมบำรุงกระดูกมากกว่านมถึง 4 เท่า
  • มีวิตามินเอบำรุงสายตามากกว่าแครอท 4 เท่า
  • มีโปรตีนมากกว่านมสด 2 เท่า
  • มีธาตุโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาทมากกว่ากล้วย 3 เท่า
ในใบมะรุมมีสารอยู่หลายชนิดดังที่ได้กล่าวมา ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ามีการใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันจะช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรครูมาติซั่มและรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด

สรรพคุณทางยา

ฝัก ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม

เปลือกต้น มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

ราก มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

ชะลอความแก่สำหรับสรรพคุณของมะรุมในการชะลอความชรานั้นยังไม่พบรายงานการวิจัย แต่
เนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ที่สำคัญคือ รูทิน (rutin) และเควอเซ
ทิน (quercetin) ทั้งยังมีสารลูทีน (lutein) และกรดแคฟฟีโอลิลควินิก
(caffeoylquinic acids) ซึ่งทั้งหมดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อม
สภาพของเซลล์ในร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์ในปี ๒๕๐๗ มีการค้นพบสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ (Benzyl
thiocyanate glycoside) และเบนซิลกลูโคซิโนเลต (Benzyl glucosinolate) ใน
มะรุมซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นำมาสู่การใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบัน
กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่ทำให้
เกิดโรคกระเพาะอาหาร

ป้องกันมะเร็ง
การทดลองฤทธิ์ต้านมะเร็งในหนูพบว่า หนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็ง
ผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมโดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนัง
น้อยกว่ากลุ่มควบคุม สรุปได้ว่าสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและ
สารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุม สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้น
โดยสารฟอร์บอลเอสเทอร์ (Phorbol ester) ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

ลดไขมันและคอเลสเตอรอลในส่วนของการลดไขมันและคอเลสเตอรอล จากการทดลอง ๑๒๐ วันให้กระต่ายกิน
ฝักมะรุมวันละ ๒๐๐ กรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัวต่อวัน เทียบกับยาโลวาสแททิน
(Lovastatin) ๖ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน และให้อาหารไขมันสูง พบว่า
ทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเตอรอล ฟอสโฟลิพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL
ปริมาณคอเลสเตอรอลต่อฟอสโฟลิพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง ๒ กลุ่มมี
การสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) ส่วนกลุ่มควบคุม
ปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุม
พบการขับคอเลสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลด
ไขมันในร่างกาย

ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่เป็นโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษา
การกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูง มีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ในหนูที่กินสารสกัดใบ
มะรุมยังมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณ
ไขมันนั้น ทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำในหนูทดลองพบว่า สารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันโรค
ตับอีกด้วย

งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความ
เสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับ
ระดับเอนไซม์แอสาเทคอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส
อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด
และมีผลกับปริมาณโลหิตและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยผลยืนยันจากการ
ตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูก
ทำลายของตับจากยาเหล่านี้

ประโยชน์ของมะรุม
  1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
  2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
  3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
  5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
  6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
    หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
  7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
  8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
  9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
  10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  11. เป็นยาปฏิชีวนะ

ชื่อสามัญ มะรุม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam.

ชื่อวงศ์ Moringaceae

ชื่ออื่นๆ อีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่”

สับปะรด


สรรพคุณ

สับปะรด มีวิตามินซีที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ฯลฯ

สับปะรดเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ในบ้านเราตลอดทั้งปี มีประโยชน์ต่อสุขภาพจนไม่ควรมองข้าม เรามาทำความรู้จักความดีของสับปะรดกันดีกว่าค่ะ

  1. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้น ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ที่สำคัญคือวิตามินซีช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อ และต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ การรับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้นจึงเป็นการเพิ่มแรงต้านโรคให้แก่ร่างกาย แต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก
  2. ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหารมาก ซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร และเป็นที่รู้กันอยู่ว่ากากใยอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
  3. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ที่จะทำลายโครงสร้างของเซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตี้ออกซิแดนต์ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย
  4. ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ และลดการสูบบุหรี่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม เพราะสับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ที่ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง และจากการศึกษาพบว่า เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งรังไข่
  5. ช่วยป้องกันโรคต่างๆ การรับประทานผักและผลไม้ให้ได้วันละ 5 กำมือ จะช่วยลดการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมะเร็ง ได้ถึง 20%
  6. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจากสับปะรดมีวิตามินซีสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้
  7. ช่วยยับยั้งการอักเสบ เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยยับยั้งการอักเสบ ทั้งนี้ ชาวอเมริกาใต้โบราณ ใช้สับปะรดเป็นยารักษาโรคผิวหนังและรักษาบาดแผล
สรรพคุณทางยา
  • ราก แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด แก้ขัดเบา
  • เปลือก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด แก้นิ่ว

ชื่อสามัญ Pineapple

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas comosus (L.) Merr.

ชื่อวงศ์ Bromeliaceae

ชื่ออื่นๆ แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

ใบบัวบก


สรรพคุณ

"ใบบัวบก" มีคุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซียมมาก นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด

นอกจากนี้ ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก พบว่า ใบบัวบกจะให้ สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผล ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้เกิดการลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้

นอกจากนี้ยังพบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยเร่งการสร้าง สารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว

บัวบก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ใบสด โดยปกติจะใช้ประมาณ กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาทาแผลบ่อยๆหรือจะพอกกากด้วยก็ได้ สารออกฤทธิ์คือกรดแมดิเคสสิค ( Madicassic) กรดเอเซียติด (Asiatic) และเอเซียติโคชายด์ (Asiaticoside) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื้อ ลดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยห้ามเลือด ลดการอักเสบ จึงช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทั้งยังลดการเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) ได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการผลิตยาครีมสกัดจากบัวบก ทาป้องกันแผลเป็นจาการผ่าตัดแล้ว

สรรพคุณทางยา

  • แก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว
  • บำรุงสมอง
  • แก้ความดันโลหิตสูง
  • แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
  • ขับปัสสาวะ

ชื่อสามัญ Tiger Herbal

ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica Urban

ชื่อวงศ์ Umbelliferae (Apiaceae)

ชื่ออื่นๆ ผักแว่น ผักหนอก ทางเหนือเรียก ปะหนะ เอขาเด๊าะ


หอมแดง


สรรพคุณ

หอมแดง สามารถต้านเชื้อหวัดได้เหมือนกัน นิยมใช้มาแต่ดึกดำบรรพ์ เช่น เด็กเป็นหวัด หรือมีอาการคัดจมูกคล้ายจะเป็นหวัด โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว นิยมเรียกว่า "ไข้หัวลม" เอาหอมแดง กะจำนวนพอประมาณ ทุบพอแตกต้มกับน้ำจนเดือดราดศีรษะเด็กขณะอุ่นหลังอาบน้ำเสร็จ 2 - 3 ขัน เศษหอมแดง ที่ต้มขยี้ศีรษะเช็ดผมให้สะอาด อาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดหัวลมจะหายได้ นิยมทำตอนเย็น หรือ หากผู้ใหญ่เป็นไข้หัวลม
หรือเป็นหวัด เอาหอมแดง กะจำนวนตามต้องการทุบพอแตกต้มน้ำ เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะรมสูดเอาไอร้อนจากน้ำที่ต้ม หายใจลึกๆ ทำวันละครั้งก่อนนอน อาการที่เป็นจะหายได้ ซึ่งสูตรดังกล่าวสามารถใช้ป้องกันเชื้อหวัดทุกชนิดได้ คนที่ยังไม่เป็นหวัดก็ทำได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหวัดได้ดีมาก
หอมแดง มีขายตามตลาดสดทั่วไป มีคุณค่าทางอาหาร คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการดูดซึมของร่างกาย มีเบต้าแคโรทีน มีสารฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะเควอซิทีน เป็นเกราะกันมะเร็งให้กับคนได้ มีสารอาหารมากกว่า 10 ชนิด กากใยอาหาร รับประทานหรือทำตามสูตรที่กล่าวข้างต้น ช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเชื้อหวัดได้

คุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหอมแดง คือ ใช้เป็นยารักษาสิว ในหัวหอมสดจะประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยไดอัลลิน ไตรซัลไฟด์ (ชนิดเดียวกับที่มีในกระเทียม) ฟลาโวนอยด์ กลัยโคไซด์ เพคติน และกลูโคคินิน สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ลดไขมันในเส้นเลือด

สำหรับวิธีการรักษาสิว ฝ้า ก็มีวิธีการที่ง่ายๆ คือ ใช้หอมแดง นำมาทุบหรือฝานให้เป็นแว่นบางๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นสิว ฝ้า หรือจุดด่างดำ เพียงไม่กี่สัปดาห์ก็เห็นผลแล้ว

สรรพคุณทางยา

หัว

  • ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้อันบังเกิดแก่จักษุ แก้ไข้อันบังเกิดแก่ทรวงแก้โรคตา
  • ขับเสมหะ แก้โรคในปาก บำรุงเส้นผมแก้ลมพรรดึก เจริญไฟธาตุ กแก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสีย
  • เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ขับปัสาวะ บำรุงโลหิต

ใบ

  • แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ

เมล็ด

  • แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือด


ชื่อสามัญ Shallot

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium ascalonicum Linn.

ชื่อวงศ์ Alliaceae

ชื่ออื่นๆ หอมแกง หอมแดง (ภาคกลาง,ภาคใต้) หอมไทย หอมหัว (ภาคกลาง) หอมบัว (ภาคเหนือ)



มะกรูด


สรรพคุณ

“ใบมะกรูด” เป็นสมุนไพรที่มักนำมาใช้ปรุงอาหาร มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น ขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง แก้ฝีภายใน ขับเสมหะ น้ำมันหอมระเหยของมะกรูดทำให้ผมดกดำ

ใบมะกรูดจึงเป็นสมุนไพรตัวจริงที่เพิ่มคุณค่าให้อาหาร แต่บางคนนึกว่านำมากินได้อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วบางคนก็เอามาทำเป็นสมุนไพรแบบ “สปา” ได้เหมือนกัน

สรรพคุณอีกอย่าง คือ ถ้าเกิดรู้สึกเครียด ๆ ก็นำใบมะกรูดมาฉีก แล้วดมจะทำให้ผ่อนคลายได้เหมือนกัน เพราะใน “ใบมะกรูด” จะมีสารบางตัวทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ดี

ใบมะกรูดยังกันแมลงรบกวนข้าวสาร ข้าวสารที่เราซื้อเก็บไว้หุง กว่าจะใช้หมดบางครั้งก็มักโดนแมลงตัวเล็กตัวน้อยลงไปก่อกวน ใช้ใบมะกรูดกำราบ โดยให้วางใบมะกรูดไว้บนข้าวสาร หรืออาจจะใส่ผสมปนเปไว้ในข้าวสารเลยก็ได้ ซึ่งหากข้าวสารมีจำนวนมาก ก็ใส่ใบมะกรูดมากหน่อย รับรองจะไม่มีแมลงมารบกวนอีกต่อไป หากข้าวสารยังใช้ไม่หมดแต่ใบมะกรูดที่วางไว้แห้งหรือหมดกลิ่นไปแล้วก็ให้เปลี่ยนใบมะกรูดเสียใหม่ กันเจ้าแมลงได้ใจกลับมารบกวนอีก

สรรพคุณทางยา
  • ใบ มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ประกอบอาหาร
  • ผล ใช้แต่งกลิ่น สระผม
  • ผิวจากลูก บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
  • ราก ถอนพิษ แก้ปวดท้อง แก้พิษฝีภายใน
  • ลูกมะกรูด หมักดองเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานฟอกล้างและบำรุงโลหิต

วิธีใช้มะกรูดสระผม

การนำมะกรูดมาสระผมนั้นมีหลายวิธีให้เลือก ดังนี้

  1. เอามะกรูดสดๆ มาผ่าครึ่ง แคะเอาเม็ดออก บีบเอาน้ำมาใช้สระผม แต่วิธีนี้จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมันที่ผิวมะกรูด
  2. ปอกผิวมะกรูดออก นำมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะกรูดผสมลงไป เติมน้ำลงไปอีกพอให้ส่วนผสมเริ่มเหลว คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วกรองคั้นเอาแต่น้ำไปใช้ วิธีนี้เวลาสระจะได้กลิ่นเหม็นเขียวจากผิวมะกรูด แต่สระเสร็จแล้วจะหอมได้ผลดีที่สุด
  3. เอาลูกมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นและนำมาเข้าเครื่องปั่นจนละเอียดที่สุด เอาออกมาใส่ชามเติมน้ำอุ่นลงไปจนท่วม คนให้ทั่ว ตั้งทิ้งไว้ 10-20 นาที คั้นเอาแต่น้ำใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ น้ำมะกรูดจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ สำหรับมะกรูดนั้นจะใช้มะกรูดสดหรือเผาไฟก่อนก็ได้

เมื่อได้น้ำมะกรูดแล้วก่อนสระผมควรราดผมให้เปียกชุ่มเสียก่อน เนื่องจากน้ำมะกรูดมีฤทธิ์เป็นกรดแก่ กัดหนังศีรษะได้ น้ำมะกรูดเมื่อเจือจางลง ฤทธิ์อ่อนลงไปด้วย ขณะที่สระผมควรนวดศีรษะไปด้วย ทิ้งไว้สองสามนาที ล้างออกและสระซ้ำอีกครั้ง แล้วล้างออกให้สะอาด อย่าให้มีเศษมะกรูดหลงเหลืออยู่ เพราะจะทำให้ผมเสีย ที่สำคัญระวังอย่าให้น้ำมะกรูดเข้าตาหรือถูกปาก เพราะจะรู้สึกแสบตาและชาปาก เวลาใช้ตอนแรกอาจจะรู้สึกแสบที่หนังศีรษะบางแห่ง แสดงว่าตรงนั้นมีแผลอยู่ ไม่เป็นอันตรายอะไรใช้ไปเรื่อยๆ จะหายเอง แต่ถ้ารู้สึกแสบทั้งหนังศีรษะแสดงว่าน้ำมะกรูดข้นไป ต้องผสมน้ำให้เจือจางอีก

ชื่อสามัญ Kaffir lime , leech lime

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.

ชื่อวงศ์ RUTACEAE

ชื่ออื่นๆ อีสาน : มะหูด, เหนือ : มะกูด, ใต้ : ส้มมั่วผี, ส้มกรูด, เขมร : โกรยเชียด


กล้วย

สรรพคุณ

กล้วยเหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเสริม สำหรับทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึง 2 ขวบ กล้วยสุกงอมจะให้สารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้แทนน้ำตาลได้ และไม่มีผลทำให้เกิดอาการผิดปกติ ต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะน้ำตาลที่เกิดจาก ขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะกล้วยสุก มีคุณสมบัติเฉพาะด้านคือ ทำให้มีฤทธิ์เป็นกรดในลำไส้ ช่วยให้เกลือแร่ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้ง่าย ถือว่าเป็น คุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่า จากธัญพืชอื่นๆ ยังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีเกลือแร่ที่จำเป็น ต่อร่างกายอีกหลายขนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก ทองแดง
  • ใบอ่อนของกล้วยอังไฟพอนิ่ม ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก

  • ก้านใบตองตำให้แหลกช่วยลดอาการบวมของฝี

  • หัวปลี ใช้บำรุงน้ำนม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

  • ผลกล้วยมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ

  • ในผลกล้วยสุกอุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงมีเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

สรรพคุณทางยา

  • กล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว

  • กล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย

  • ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ ปิดรักษาตาอักเสบ

  • หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย รักษาแผลสดได้ และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้

  • รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้รอ้นใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ

  • เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องเป็นประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม หรือคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก

ข้อควรระวัง

รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียได้

ชื่อสามัญ Banana, Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn., Musa paradisiaca var sapientum (Linn.) O. Kutze.

ชื่อวงศ์ Musaceae

ชื่ออื่นๆ กล้วยไข่, กล้วยใต้, กล้วยนาก, กล้วยน้ำว้า, กล้วยมณีอ่อง, กล้วยเล็บมือ, กล้วยส้ม, กล้วยหอม, กล้วยหอมจันทน์, กล้วยหักมุก, เจก, มะลิอ่อง, ยะไข่, สะกุย, แหลก



มะขาม


สรรพคุณ

เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก แก้ไอ และแก้หวัดคัดจมูก มีวิตามินซี ช่วยให้ ฟันและเหงือกแข็งแรง และทำให้ผิวพรรณดี ในเรื่องของความงาม โดยผสมในครีมบำรุงผิว ขัดผิว ทำให้ผิวขาวเนียนอย่างเป็นธรรมชาติ ใช้ ผสมในสบู่ทำให้ผิวสดใส ไร้สิวฝ้า รักษาใบหน้าที่หมองคล้ำ ลบจุดด่างดำ

เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก" มะขาม ที่ใช้เป็นยา ใช้มะขามชนิดเปรี้ยว เพราะมีกรดอินทรีย์ประกอบด้วยหลายตัวด้วยกัน เช่น กรด "ทาร์ทาร์ริค (Tartaric)" กรด "ซีตริค (Citric)" เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวจะกัดเสมหะให้ละลายไปได้

สรรพคุณทางยา
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา

  • มีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง

  • แก้กระหายน้ำ

  • ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน

  • มีกรด Tartaric เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี

  • มีธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

  • ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน

  • แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน

ข้อควรระวัง

รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียได้

ชื่อสามัญ Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn

ชื่อวงศ์ Fabaceae

ชื่ออื่นๆ หมากแดง (แม่ฮ่องสอน) ; อำเปียล (เขมร) ; มะขามไทย,ม่วงโคล้ง (กระเหรี่ยง - กาญจนบุรี) ; ตะลูบ(ชาวบน - โคราช) ; ขาม(ใต้)


ใบแมงลัก


สรรพคุณ

ใบแมงลักจะมีขน และมีกลิ่นหอมน้อยกว่าใบโหระพา มีสรรพคุณช่วยไล่แก๊สในลำไส้ และลดอาการไอ ที่สำคัญ ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มน้ำนมของมารดาที่เพิ่งคลอดบุตร นอกจากนั้นยังช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้อีกด้วย

ใบแมงลัก เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย คล้ายกระเพราและโหระพา ใบมีสีเขียวอ่อนหยักเล็กน้อยมีขนอ่อนที่ใบและก้าน ทั้งต้นของแมงลักจะมีกลิ่นหอม ดอกเป็นช่อยาวชูขึ้น มีสีขาว เมล็ดสีดำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำ เจริญเติบโตดีหากได้น้ำหรือปลูกในฤดูฝน ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว หรือไม่ก็ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ใบแมงลักกินได้ทั้งสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร

การนำใบแมงลักมาประกอบอาหารจะนิยมกินที่ยอดอ่อนของมันหรือใบที่ยังไม่แก่ บางคนไม่ชอบกินแมงลักเพราะมีรสเผ็ดนิด ๆ และมีกลิ่น บางคนก็ชอบทานสด ๆ เช่นทานเป็นผักคู่กับขนมจีน นำมา ทำแกงเลียงรสชาติหอม หรือนำมาทำแกงกะทิใบแมงลักจะได้รสชาติเผ็ดร้อนถึงใจ เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำหวานหรือน้ำเชื่อม กินแล้วช่วยดับร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงหัวใจให้ชื่นฉ่ำ

สรรพคุณทางยา
  • เมล็ดแมงลักเป็นยาระบาย ช่วยให้ถ่ายสะดวก ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ เม็ดแมงลักแก่
  • ใบแมงลักช่วยขับเหงื่อ ขับลม โดยรับประทานใบสดหรือกับขนมจีน
  • แก้ไอ แก้โรคทางเดินอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ โดยรับประทานน้ำต้มใบแมงลัก และบรรเทาอาการปวดฟัน โดยอมหรือบ้วนปากด้วยน้ำต้มใบแมงลักเช่นกัน
  • แก้ไข้หวัดในเด็ก โดยให้รับประทานน้ำคั้นใบแมงลัก โดยต้องระวังเรื่องการแพ้สารภายในจากต้นแมงลักด้วย
  • ใบใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
  • น้ำมันแมงลักมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค
  • แก้ขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุ แก้โรคลำไส้พิการ แก้พิษตาลซางในเด็กทารก อารมณ์แจ่มใส ช่วยสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว และโรคกระเพาะลำไส้

นอกจากใบแมงลักจะมีสรรพคุณทายาและสามารถรักษาโรคแล้ว ก็ยังประกอบไปด้วยวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 2 วิตามินซี ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และที่สำคัญช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย ชื่อสามัญ แมงลัก (Hairy Basil)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilicum L. forma citratum Back

ชื่อวงศ์ Labiatae

ชื่ออื่นๆ ก้อมก้อขาว มังลัก กอมก้อ กำก้อ อีตู่ ผักอีตู่


ขิง


สรรพคุณ

ขิง พืชผักอีกหนึ่งชนิด ที่หลายคนรู้จักกันดี ส่วนมากรับประทานเพื่อช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ แต่ขิงสามารถนำมาใช้รักษาแก้ไอ แก้หวัดได้ จากการศึกษาพบว่า ในขิงมีสารอยู่หลายชนิดที่ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และน้ำขิงต้ม จะทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาส (Macrophage) จับกินเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น

สรรพคุณทางยา

เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ

ต้น รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

ใบ รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

ดอก รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

ราก รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด

ผล รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ

ชื่อสามัญ Ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe

ชื่อวงศ์ Zingiberaceae

ชื่ออื่นๆ ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)


ตะไคร้


สรรพคุณ

ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม

สรรพคุณทางยา
  • บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
  • ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร
  • แก้โรคหืด
  • แก้อหิวาตกโรค
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี
  • ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว
  • ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว

มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วย เนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ

ชื่อสามัญ ตะไคร้ (Takhrai), Lemongrass

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus Stapf.

ชื่อวงศ์ GRAMINEAE

ชื่ออื่นๆ ภาคเหนือ เรียก จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai), ภาคใต้ เรียก ไคร (Khrai)

วิธีทำน้ำตะไคร้ไว้ดื่ม

นำต้นตะไคร้มาทุบแล้วใส่ลงไปต้มในน้ำที่กำลังเดือดพล่าน รอจนน้ำเปลี่ยนสีให้ยกลง เอากากออกแล้วเอาน้ำตาลใส่ ชิมดูรสชาติหวานปานกลาง พอเย็นลงเก็บใส่ตู้เย็น แก้กระหาย ใช้ดื่มก่อนดื่มเหล้าจะทำให้ดื่มเหล้าได้น้อยลง และทำให้เจริญอาหาร


ฟ้าทะลายโจร


สรรพคุณ
ใบ รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยนำมาบดผสมกับน้ำ้มันพืช ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล

ต้น แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดินอาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ปอดอักเสบและแก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้นประมาณ 1-3 กำ แล้วต้มกับน้ำดื่ม

ฟ้าทะลายโจร เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คืออาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มี อาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมือ อุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน"

ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่าโจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น

สำหรับความโดดเด่นของฟ้าทะลายโจรนั้น มีสารสำคัญในการรักษาโรค คือ สารแอนโดรแกรโฟไลด์ (Andrographpolide) ซึ่งทางวงการแพทย์ จีนกำหนดว่ามี 1.5% ก็ใช้เป็นยาได้แล้ว และเป็นที่น่ายินดีที่ใบฟ้าทะลายโจรในเมืองไทยมีสารสำคัญตัวนี้ถึง 1.7% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวใหม่ แล้ว ฟ้าทะลายโจรจัดอยู่ในจำพวกยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลินและเตตราซัยคลิน ซึ่งเป็น ยาแผนปัจจุบันครอบจักรวาลเลยทีเดียว แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีพิษต่อตับ และไม่ตกค้างในร่างกาย ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก นอกจากนี้ยังมี การทดลองทางคลินิกของโรงพยาบาลบำราศนราดูร พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถรักษาโรคบิด ท้องร่วงและโรคท้องเสีย ชนิดเฉียบพลัน ได้ดีเท่ากับเตตราซัยคลิน

ฟ้าทะลายโจรจึงไม่เพียงแก้ร้อนในได้ผลเท่านั้น หากยังสรรพคุณเด่นแก้ไข้หวัด ตัวร้อน ระงับการอักเสบเจ็บคอ แก้ติดเชื้อ และเป็นยาขมเจริญอาหาร จึงนับได้ว่าฟ้าทะลายโจรเป็นยาครอบคลุม ได้กว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นยาสามัญประจำบ้านแบบไทย ๆ ได้อย่างดียิ่ง

ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มที่จะสนใจสมุนไพรสารพัดประโยชน์ตัวนี้ เขามีเคล็ดลับในการกินยาฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลดี ดีซึ่งเคล็ดลับนั้นมีอยู่ว่า จะต้องกินตอนเริ่มมีการอาการเป็นไข้ เจ็บคอ และท้องเสีย โดยกินครั้งละ 5 เม็ดขึ้นไป แต่ถ้ามีอาการมากให้กินได้ถึงครั้งละ 10 เม็ด วันละ 3-4 เวลา ก่อนอาหาร ถ้ากินเป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ใช้ขนาดตั้งแต่ 3-4 เม็ด

หรือหากบริเวณบ้านของคุณพอจะมีที่ว่างอยู่สักหน่อยก็ลองหาฟ้าทะลายโจรมาปลูกกันดู ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายสามารถปลูกได้ดีทุกสภาพ แวดล้อม ซึ่งเราสามารถใช้ส่วนใบของ ฟ้าทะลายโจรมากินสดได้เลยก็จะยิ่งดี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวางและแม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะดูเหมือนจะมีพิษน้อย แต่เนื่องจากเป้น ยาเย็นจัด การกินฟ้าทะลายโจรรักษาโรคนาน ๆ ติดต่อกันหลายปีอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น แต่ถ้ากินวันละ 1-2 เม็ด เป็นยาอายุวัฒนะสามารถกินได้เรื่อย ๆ ไม่มีพิษอะไร

จากประสบการณ์ของผู้ใช้ มีข้อสังเกตว่าผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะยาฟ้าทะลายโจรตัวนี้เป็นยาที่มีสรรพคุณในการลดความดันอยู่แล้ว ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ และมาใช้ฟ้าทะลายโจรจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน มึนงง วิธีแก้คือหยุดยาทันที ภายใน 3-4 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปไม่มียาตกค้างในร่างกาย

ข้อควรระวัง
ฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คือ อาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจร จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน ถ้าเป็นหวัดเย็น แล้วกินฟ้าทะลายโจรอาการ จะกำเริบขึ้นได้ เช่น หนาวสั่น คลื่นไส้ ดังนั้นก่อนที่จะกินฟ้าทะลายโจรแก้ไข้ จึงควรพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ชื่อสามัญ King of bitterness

ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall.ex Ness.

ชื่อวงศ์ Acanthaceae

ชื่ออื่นๆ ซิปังกี (จีน) , น้ำลายพังพอน (ไทย)


ฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญจำพวก diterpene lactones หลายชนิด ได้แก่ andrographolide , neoandrographolide , deoxyandrographolide , deoxy-didehydroandrographolide

สมุนไพรใบยา


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน คือ พืชผักพื้นบ้านที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ในการรักษาโรคต่างๆ และเป็นที่น่าดีใจ ที่บ้านเราก็มีพืชผักพื้นบ้านที่ใช้เป็นยาสมุนไพรอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น กะเพรา ตะไคร้ ขิง ข่า หอม กระเทียม มะนาว พริก ใบชะพลู เป็นต้น

นอกจากนี้สมุนไพรบางชนิด มีผลในการช่วยลดน้ำตาล และไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก

สมุนไพรลดน้ำหนัก ที่พบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่ เมล็ดแมงลัก หัวบุก ผลส้มแขก ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

ผลไม้ที่คนไทยรับประทานอยู่เป็นประจำตามฤดูกาล ก็มีสรรพคุณในทางเป็นยารักษาโรคได้เช่นเดียวกัน อย่างเช่น มะละกอ ใช้ได้ทั้งดิบและสุก
โดยนำผลดิบมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี น้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่วิเศษสุดๆ ถ่ายคล่องเป็นยาระบายได้อย่างดีเยี่ยม

เมนูยอดนิยมอย่าง “ต้มยำกุ้ง” ที่ต่างชาติต่างชื่นชมในเรื่องของรสชาติ อีกทั้งยังมีองค์ประกอบ อาทิ ข่า ตะไคร้ หรือ พริก ล้วนมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ โดย ข่า และ ตะไคร้ มี สรรพคุณขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือ พริก ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร ถ้ากินในปริมาณไม่มากช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งแก้อาเจียน แก้ปวดเมื่อย

“ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเรานับเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชสมุนไพรหรือเรียกว่ารั้วกินได้ ณ ปัจจุบันนี้เรา ๆ ท่าน ๆ ก็สามารถมีวิถีชีวิต เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ง่าย ๆ เลยใช้รั้วบ้านหรือข้างบ้านให้เกิดประโยชน์ ถ้าไม่มีรั้วบ้านก็ใช้พื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้านบ้านปลูกพืชสมุนไพร อาทิ ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว หรือพริกชนิดต่าง ๆ พืชเหล่านี้ถ้าเรารับประทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี จะมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค และยาบำรุงร่างกาย ถ้าเหลือจากการบริโภคแล้ว สามารถปลูกเป็นอาชีพเสริม ช่วยเพิ่มรายได้ ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี”

…หรือการปลูกไม้เลื้อยประเภทกินได้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บวบ กระถิน ซึ่งพืชผักประเภทนี้เจริญเติบโตได้ดี ไม่ต้องคอยดูแลรักษามากและไม่ต้องใช้สารเคมี นับเป็นวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ที่เรียบง่ายที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข.

แกงส้มมะรุม

เครื่องปรุง

  • ฝักมะรุม 1 กิโลกรัม
  • กุ้งแม่น้ำ 6 – 8 ตัว
  • น้ำพริกแกงส้ม 150 กรัม
  • น้ำปลา 1.5 ถ้วยตวง
  • น้ำตาลปี๊บ 3 – 4 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 2 ลิตร
  • มะขามเปียก 3/4 ถ้วยตวง
วิธีเตรียมส่วนประกอบ

มะรุม นำมาปอกผิวด้วยมีด ให้ผิวด้านนอกที่เป็นสีเขียวแข็งออก หรือถ้าชอบที่จะทานแบบมีใยไว้สำหรับเคี้ยวให้สนุกปาก ก็ใช้มีดขูดผิวให้สีเขียวด้านนอกของฝักมะรุมออกให้สะอาด จากนั้นตัดมะรุมเป็นท่อนๆ ละ 2 - 2.5 นิ้ว ตามชอบ ล้างน้ำให้สะอาดพักไว้



กุ้ง อาจจะใช้กุ้งแม่น้ำ หรือจะเป็นกุ้งแชบ๊วยก็ได้ นำมาผ่าหลังเอาเส้นดำออก แล้วล้างให้สะอาดพักไว้

น้ำพริกแกงส้ม
  • หัวหอมแดงปอกเปลือก ล้างสะอาดก่อนซอยบาง 8 หัว
  • พริกชี้ฟ้าแดง ตัดขวางเม็ดนำเมล็ดออก 6 เม็ดใหญ่
  • พริกขี้หนูแห้ง นำขั้วออกแช่น้ำ 6 - 8 เม็ด
  • ขมิ้นเหลืองสด ปอกเปลือกสะอาด 1 แง่ง
  • กะปิ นำไปห่อใบตองย่างไฟกลางให้หอม 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำพริกแกงส้ม
  1. นำพริกแห้งทั้งใหญ่และพริกขี้หนูที่แช่น้ำแล้วจนนิ่ม นำมาบีบน้ำให้แห้ง ใส่ในครกลงตำให้ละเอียด
  2. นำหัวหอมแดงใส่ตำจนละเอียดเข้ากันดี
  3. จากนั้นใส่ขมิ้นหั่นชิ้นเล็ก ตำผสมให้เข้ากันดี
  4. แล้วจึงใส่กะปิที่ย่างไฟหอมลงตำให้เข้ากัน พักไว้
น้ำมะขามเปียก ใช้มะขามเปียกที่สีสดใหม่ 250 กรัม ล้างน้ำสะอาดก่อนแช่กับน้ำร้อน 500 กรัม จนนิ่ม ใช้มือคั้นให้ได้น้ำมะขามเปียก จากนั้นนำมากรอง

วิธีทำแกงส้ม

  • นำน้ำตั้งไฟให้เดือด ใส่พริกแกงส้มที่ตำไว้แล้ว ละลายให้เข้ากัน
  • พอน้ำแกงเดือดให้ใส่มะรุมลงไป ปิดฝาหม้อ พอเดือด ช้อนฟองที่ลอยอยู่บนน้ำแกงออกบ้าง
  • ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะขาม ให้รสชาติออกหวาน เค็ม เปรี้ยว พร้อมกัน
  • เคี่ยวไฟพอเดือดจนมะรุมนุ่มดีแล้วจึงใส่กุ้งสดที่ทำสะอาดแล้วลงไป เร่งไฟให้น้ำแกงเดือดจนกุ้งสุกเป็นใช้ได้
สรรพคุณ

มะรุมมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต แก้ไข้ ป้องกันโรคตับ ชะลอความแก่

เคล็ดลับการทำแกงส้ม
  • น้ำแกงต้องไม่ข้นหรือใสจนเกินไป
  • ต้องให้มะรุมสุกก่อน จึงปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ไม่เช่นนั้นผักจะไม่นุ่ม
  • แกงส้มถ้าทิ้งค้างคืนไว้รสชาติจะเข้มข้นอร่อยขึ้น

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มะระขี้นกผัดไข่


เครื่องปรุง

  • น้ำมันพืข 2 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  • ไข่เค็มแกะเปลือกหั่นหยาบๆ 1 ฟอง
  • มะระขี้นก 15 ลูก
  • กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ช้อนชา
  • พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
  1. ล้างมะระ ผ่าครึ่งเอาเมล็ดออกหั่นบางๆ แช่ในน้ำเกลือ (น้ำ 2 ถ้วยผสมเกลือป่น 2 ช้อนชา) เพื่อให้คลายขม เอาขึ้น บีบน้ำออกให้หมด

  2. ใส่น้ำมันลงในกระทะ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่กระเทียม เจียวพอหอม ใส่มะระ ผัดพอมะระสุก กันไว้ข้างกระทะ คนไข่กับกับไข่เค็มเข้าด้วยกัน

  3. ใส่น้ำมันที่เหลือในกระทะ นำไข่ลงทอด คนพอไข่แตก จนไข่จวนสุก คนมะระกับไข่เข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา โรยด้วยพริกไทย ตักใส่จาน
สรรพคุณ

มะระขี้นกเป็นผักที่มีการรายงานค่อนข้างชัดเจนว่า เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เพราะในมะระขี้นกมีสารคล้ายอินซูลินซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินและลดการดูดซึมน้ำตาลได้

ยำหัวปลี


เครื่องปรุง

  • หัวปลีหั่นหยาบ 1 หัว (ไม่เอาไส้ใน)
  • หอมแดงซอย 6 หัว
  • กุ้งแห้งป่นหยาบๆ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งสดลวก 10 ตัว
  • ถั่วปั่นหยาบๆ 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำพริกเผา 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • นมสดพร่องมันเนย 4 ช้อนโต๊ะ
  • หอมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกขี้หนูแห้งทอด

วิธีทำ

  1. ล้างหัวปลีให้สะอาด ผ่าครึ่งแล้วนำไป ปิ้งบนไฟจนเปลือกข้างนอกไหม้นิดหน่อย พักไว้ให้เย็น (แนะนำให้ใช้หัวปลีกล้วยน้ำว้า เพราะไม่มีรสฝาด)
  2. ลอกเปลือกหัวปลีที่ไหม้ออก ซอยตามขวางบางๆ
  3. ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะนาว นมสด และน้ำพริกเผาให้เข้ากันเพื่อทำเป็นน้ำยำ
  4. คลุกเคล้ากุ้งลวกในน้ำยำ เพื่อให้ซึมเข้าไปในตัวกุ้ง
  5. ราดน้ำยำลงไปคลุกเคล้ากับหัวปลี กุ้งแห้ง เมื่อเข้ากันดีแล้ว ตักใส่จานโรยหน้าด้วยผักชี หอมเจียว พริกขี้หนูแห้งทอด

สรรพคุณ


หัวปลี มีรสฝาดมัน ช่วยบำรุงน้ำนม ป้องกันโรคลำไส้ ลดน้ำตาลในเลือด และช่วยสมานแผล แต่ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้ฝืดคอ และท้องเฟ้อ



เห็ดผัดขิง


เครื่องปรุง

  • เห็ดหอม 2 - 3 ดอก
  • เห็ดดอกกลม 2 - 3 ดอก
  • เห็ดหูหนูดำแช่น้ำแล้วกะว่าหั่นได้สัก 1/2 ถ้วย
  • ขิง 2 แง่งขนาดกลาง
  • น้ำตาล 1 ช้อนชา
  • เต้าเจี้ยวดำ 1 ช้อนโต๊ะ (ใช้่ซีอิ๊วขาวหรือซอสถั่วเหลืองแทนได้)
  • พริกชี้ฟ้า 1 เม็ด
  • หอมใหญ่ 1/2 หัวกลาง
  • กระเทียม 2 - 3 กลีบ
  • น้ำมันพืชนิดหน่อย

วิธีทำ

  1. นำเห็ดหอม เห็ดหูหนูแช่น้ำให้นิ่ม แล้วก็หั่นเป็นชิ้นเล็กพอคำ เห็ดดอกกลมล้างสะอาดหั่นบางๆ
  2. ขิงล้างสะอาดแล้วซอยบางๆ พริกชี้ฟ้าล้างสะอาด หั่นเป็นเส้นยาวๆ หัวหอมใหญ่ก็หั่นตามยาว เป็นชิ้นไม่ต้องบางมาก กระเทียมสับพอแหลก
  3. นำน้ำมันพืชใส่กระทะนิดหน่อย ยกตั้งไฟปานกลาง พอร้อนก็ใส่กระเทียมลงไปเจียว พอกระเทียมเหลืองมีกลิ่นหอม ก็ใส่เห็ดหูหนูดำ และเห็ดหอมลงไปได้ ผัดไปมาให้เห็ดสุก (อาจเติมน้ำำแช่เห็ดหอมหรือน้ำสะอาดนิดหน่อย) แล้วก็ตามด้วยขิงซอย เห็ดดอกกลม หัวหอมใหญ่
  4. ผัดให้ผักสลด แล้วใส่เต้าเจี้ยวดำ น้ำตาลลงไป
  5. ผัดให้ทุกอย่างเข้ากันดี ชิมรสขาดเหลือเพิ่มเติมได้ ถูกใจแล้วก็ใส่พริกชี้ฟ้าซอยลงไป
  6. คนให้พริกเข้ากันดีกับผัดแล้วปิดไฟได้

สรรพคุณ

การทานเห็ด 3 อย่าง จะช่วยเรื่องตับได้ดี เหมาะสำหรับคนที่ไทรอยด์เป็นพิษ คนที่ผมร่วง คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ และยังช่วยลดไขมันในเส้นเลือดด้วย

แกงเลียง


เครื่องปรุง

  • ฟักทองเนื้อดี หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 - 12 ชิ้น
  • บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 - 15 ชิ้น
  • ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
  • กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
  • ตำลึงยอดงามๆสัก 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
  • ใบแมงลัก 3 - 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
  • กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้ 6 - 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
  • น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง
  • น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
  • ถ้าชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก5 - 6 เม็ด บุบพอแตก

เครื่องปรุงพริกแกง

  • พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
  • กระชาย 4 หัว
  • หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
  • พริกไทยขาว 12 เม็ด
  • กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง
  • กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง
วิธีทำ

  1. นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับพริกแกง

  2. นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆพอน้ำแกงเดือดอีกทีใส่ผักชนิดที่สุกยาก ลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้งสดรอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้วจึงใส่ใบตำลึง

  3. ใส่ใบแมงลักเป็้นรายการสุดท้ายแล้วคนให้เข้ากัน ตักเสริฟขณะร้อนได้รสชาติดี

สรรพคุณ
  • ใบแมงลัก แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

  • ตำลึง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไข้ บำรุงสายตา และแก็โรคผิวหนัง

  • บวบ บำรุงหัวใจ แก้ร้อนใน มีสรรพคุณเป็นยาระบาย

  • ฟักทอง ช่วยบำรุงสายตา

  • เห็ดฟาง มีสาร Vavatoxin ที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดใหญ่ ลดปัญหาไขมันในเส้นเลือด

  • พริกไทย ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ บรรเทาความร้อนในร่างกาย

  • หอมแดง ช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก

  • พริกขี้หนู ทำให้เจริญอาหาร ขับลม ขับเสมหะ บรรเทาอาการหวัด

แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็น แกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ




เปรี้ยวหวานสับปะรด



เครื่องปรุง
  • กุ้งแช่บ๊วย 100 กรัม
  • สับปะรดหั่นสี่เหลี่ยม 1 ถ้วย
  • มะเขือเทศหั่นชิ้นพอคำ 1 ลูก
  • พริกหวานหั่นสี่เหลี่ยม 1 ลูก
  • หอมใหญ่หั่นสี่เหลี่ยม 1 หัว
  • แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุป 1 ถ้วย
  • น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
  1. ล้างกุ้งให้สะอาด ปลอกเปลือกไว้หาง ผ่าหลังชักเส้นดำออก
  2. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่สับปะรด มะเขือเทศ พริกหวาน หอมใหญ่ ผัดพอจวนสุก ใส่กุ้ง ผัดพอทั่ว
  3. ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซอสถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู น้ำปลา ใส่น้ำซุป ผัดให้เข้ากัน
  4. พอเดือดละลายแป้งมันกับน้ำใส่ ผัดจนข้นเหนียว ตักใส่จาน

สรรพคุณ

เราจะได้ประโยชน์ของสารอาหารต่าง ๆ ทั้งวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร สารแคโรทีน และยังได้ประโยชน์จากสารฟลาโวนอยด์จากผัก โดยเฉพาะจากหัวหอมใหญ่อีกด้วย ในแง่คุณค่าทางโภชนาการ ของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต เมื่อกินผัดเปรี้ยวหวานจานนี้

สับปะรด มีวิตามินซีที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง อีกทั้งช่วยยับยั้งการอักเสบ เนื่องจากในสับปะรดมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Bromelain

ยำใบบัวบก

เครื่องปรุง

  • ใบบัวบกล้างหั่นฝอย 1 1/2 ถ้วย (200 กรัม)
  • เนื้อกุ้งนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย (50 กรัม)
  • ถั่วลิสงคั่วโขลกพอแตก 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
  • หอมแดงเจียว 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)
  • เนื้อหมูนึ่งหั่นบางๆ 1/4 ถ้วย (50 กรัม)
  • มะพร้าวขูดคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ดเล็ก (5 กรัม)

เครื่องปรุงน้ำยำ

  • พริกแห้งเผาหรือคั่วโขลกละเอียด 2 ช้อนชา (10 กรัม)
  • กระเทียมเผาหรือคั่วโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
  • น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

ผสมทุกอย่าง คลุกเคล้าให้เข้ากัน


วิธีทำ

  1. ผสมหมู กุ้ง กับน้ำยำเข้าด้วยกัน ใส่ใบบัวบกเคล้าเบาๆ

  2. ใส่ถั่วลิสงเคล้าพอเข้ากัน ตักใส่จาน

  3. โรยด้วยพริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย หอมเจียว

สรรพคุณ

  • ใบบัวบกแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี

  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ

  • ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว บำรุงสมอง

  • แก้ความดันโลหิตสูง

  • บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ เนื่องจากมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส สูง

  • แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ


ยำตะไคร้



เครื่องปรุง

  • ตะไคร้อ่อนซอย 3 ต้น
  • มะพร้าวแก่หั่นคั่ว 3 ช้อนโต๊ะ
  • ขิง หั่นเต๋า
  • มะนาว หั่นเต๋า
  • หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงซอยเจียว 1 ช้อนชา
  • พริกขี้หนูแดงหั่นหยาบ 1 ช้อนชา
  • พริกขี้หนูแห้งทอด 10 เม็ด
  • ถั่วลิสงคั่ว หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแก้วทอดกรอบ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ใบสะระแหน่ 4-5 ใบ
  • ใบชะพลูไว้เป็นเครื่องเคียง
  • น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

  1. นำตระไคร้ และส่วนผสมทั้งหมด ยกเว้น ใบชะพลู และน้ำปรุงรสต่างๆ ใส่ลงไปในชามผสมแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

  2. จากนั้นเตรียมน้ำยำ โดยผสม น้ำเชื่อม น้ำปลา น้ำมะนาว ปรุงรสให้เข้ากัน

  3. เทน้ำยำลงบนส่วนผสมในขั้นตอนแรก คลุกเคล้าให้เข้ากัน

  4. เวลาเสริฟ์รองจานด้วย ใบชะพลู หรือ ผักกาดเขียว ทานกับข้าวสวย ร้อนๆก็ดีคะ




สรรพคุณ

ตะไคร้ ที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยให้เจริญอาหาร

ใบชะพลู มีวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ มีแคลเซียม และ เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ วิตามินเอ(โปรวิตามินเอ) มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะนาว กลิ่นมะนาวมีสรรพคุณต่อระบบทางเดินหายใจ น้ำมะนาวบรรเทาอาการเจ็บคอ ช่วยลดอาการของไข้หวัด อาการไอ