มะรุมมีฤทธิ์ขับลมและจัดอยู่ในยารสร้อน ทานมากโดยไม่มีการขับออก ก็อาจทำให้โลหิตร้อนได้ โดยปกติยาไทยจะเข้ามะรุมเมื่อต้องการให้ยามีสรรพคุณในการขับลม แต่ปัจจุบันด้วยแนวคิดทานสมุนไพรแบบยาแผนปัจจุบัน จึงเกิดอาการข้างเคียง ถ้าจะทานสมุนไพร ควรทานเป็นอาหาร เช่น ยอดมะรุมลวกทานกับน้ำพริก หรือแกงส้มมะรุม ถ้าทานเช่นนี้จะไม่มีปัญหา
ใบมะรุม
- มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัดมากกว่าส้ม ถึง 7 เท่า
- มีธาตุแคลเซียมบำรุงกระดูกมากกว่านมถึง 4 เท่า
- มีวิตามินเอบำรุงสายตามากกว่าแครอท 4 เท่า
- มีโปรตีนมากกว่านมสด 2 เท่า
- มีธาตุโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาทมากกว่ากล้วย 3 เท่า
สรรพคุณทางยา
ฝัก ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม
เปลือกต้น มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
ชะลอความแก่สำหรับสรรพคุณของมะรุมในการชะลอความชรานั้นยังไม่พบรายงานการวิจัย แต่
เนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ที่สำคัญคือ รูทิน (rutin) และเควอเซ
ทิน (quercetin) ทั้งยังมีสารลูทีน (lutein) และกรดแคฟฟีโอลิลควินิก
(caffeoylquinic acids) ซึ่งทั้งหมดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อม
สภาพของเซลล์ในร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์ในปี ๒๕๐๗ มีการค้นพบสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ (Benzyl
thiocyanate glycoside) และเบนซิลกลูโคซิโนเลต (Benzyl glucosinolate) ใน
มะรุมซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นำมาสู่การใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบัน
กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่ทำให้
เกิดโรคกระเพาะอาหาร
ป้องกันมะเร็ง
การทดลองฤทธิ์ต้านมะเร็งในหนูพบว่า หนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็ง
ผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมโดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนัง
น้อยกว่ากลุ่มควบคุม สรุปได้ว่าสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและ
สารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุม สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้น
โดยสารฟอร์บอลเอสเทอร์ (Phorbol ester) ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
ลดไขมันและคอเลสเตอรอลในส่วนของการลดไขมันและคอเลสเตอรอล จากการทดลอง ๑๒๐ วันให้กระต่ายกิน
ฝักมะรุมวันละ ๒๐๐ กรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัวต่อวัน เทียบกับยาโลวาสแททิน
(Lovastatin) ๖ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน และให้อาหารไขมันสูง พบว่า
ทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเตอรอล ฟอสโฟลิพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL
ปริมาณคอเลสเตอรอลต่อฟอสโฟลิพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง ๒ กลุ่มมี
การสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) ส่วนกลุ่มควบคุม
ปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุม
พบการขับคอเลสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลด
ไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่เป็นโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษา
การกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูง มีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ในหนูที่กินสารสกัดใบ
มะรุมยังมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณ
ไขมันนั้น ทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง
ฤทธิ์ป้องกันตับนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำในหนูทดลองพบว่า สารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันโรค
ตับอีกด้วย
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความ
เสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับ
ระดับเอนไซม์แอสาเทคอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส
อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด
และมีผลกับปริมาณโลหิตและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยผลยืนยันจากการ
ตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูก
ทำลายของตับจากยาเหล่านี้
ประโยชน์ของมะรุม
- ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
- ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
- ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
- ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง - ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
- รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
- รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
- รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
- เป็นยาปฏิชีวนะ
ชื่อสามัญ มะรุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam.
ชื่อวงศ์ Moringaceae
ชื่ออื่นๆ อีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น