สรรพคุณ
ราก แก้พิษ รักษาริดสีดวงทวาร ฝาดสมาน แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน
เถา ยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อและเท้าบวม แก้ปวดตามข้อมือและนิ้วมือนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ ลดเสมหะ บำรุงน้ำดี แก้พิษดับร้อน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้
ใบ แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุย ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ขับลม แก้ธาตุไม่ปกติ ทำให้นอนหลับ แก้ปวดศีรษะ แก้พิษ แก้ไอเรื้อรัง ยาระบายอ่อน ๆ แก้เสียดท้อง บำรุงธาตุ ขับพยาธิเส้นด้าย ดับพิษฝีที่ร้อน รักษาแผล บำรุงน้ำดี แก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน ยาฟอกเลือด แก้ร้อนใน แก้ม้าม แก้ตับพิการ แก้ฟกบวมอักเสบ แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ ทำให้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ แก้บิด แผลฝีบวมอักเสบ เจริญอาหาร ฟอกโลหิต รัดถานและถอนไส้ฝี
ดอก แก้พิษ แก้บิด
ผล แก้พิษฝี แก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้โรคลมเข้าข้อ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู ดับพิษร้อน ถ่ายท้อง แก้พิษ ขับลม แก้คัน แก้ธาตุไม่ปกติ แก้เสียดท้อง แก้เจ็บปวดอักเสบ ระบายอ่อนๆ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง บำบัดโรคเบาหวาน ยาบำรุง ทาหิด ฝาดสมาน แก้โรคเม็ดผดผื่น คันในตัวเด็ก แก้พิษไข้ แก้หัวเข่าบวม แก้ปวดตามข้อ แก้ม้าม แก้ตับพิการ เจริญอาหาร ใช้มากๆ เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาโรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ ดับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวม เป็นหนอง ต้านมะเร็ง
เมล็ด แก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้านมะเร็ง
ทั้งห้าส่วน บำรุงน้ำดี ดับพิษทั้งปวง เจริญอาหาร บำรุงน้ำนม แก้ไข้
สรรพคุณทางยา
- ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน โดยหั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
- รักษาโรคเอดส์ต้านเชื้อ HIV ใช้ผลอ่อนทำเป็นน้ำคั้น หรือบดเป็นผงใส่แคปซูล หรือยาลูกกลอน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีกว่ากินสดหรือต้ม แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB 30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้
- ฤทธิ์ต้านมะเร็ง สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง คือ guanylate cyclase inhibitor สกัดได้จากผลสุก MAB 30 สกัดจากเนื้อผลสุกและเมล็ด momorchrin สกัดจากเมล็ด ผลและเมล็ดต้มน้ำดื่ม
- ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกไม่จำกัดจำนวน ใช้ประกอบเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง
- ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ใบสดมะระขี้นก 20-30 ใบ หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือ เล็กน้อย ช่วยกลบรสขม ดื่มแต่น้ำ ใช้ได้ดีสำหรับถ่ายพยาธิเข็มหมุด นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม
- ทำให้อาเจียน ใช้เถาสด 1/3 กำมือ หรือ 6-20 กรัม เติมน้ำพอท่วมต้มให้เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ
- รักษาชันนะตุและศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน ใช้ผลสดที่ยังไม่สุกหั่นเนื้อมะระแล้วตำคั้นเอาแต่น้ำ เติมดินสอพองลงในพอสมควร ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ
- เป็นยาแก้ไข ใช้ผลมะระต้มน้ำแล้วดื่ม อาการตัวร้อนจะหายไป
- แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันนำไปตากให้แห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชา ก็ได้
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่น ฝอย ต้มน้ำดื่ม
- แก้บิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม
- แก้บิดเฉียบพลัน ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม
- แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
- แก้บิดถ่าย เป็นมูกหรือเลือด ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูกใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือดให้ต้มน้ำดื่ม
- แก้แผลบวม ใช้ผลสดตำพอก
- แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก
- แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าอื่น แก้ฝีบวมอักเสบใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก
- แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก
- แก้คัน แก้หิด และโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ
ปัจจุบันมีผู้ผลิตมะระขี้นก เป็น แคปซูล ขายอยู่หลายราย เพราะสะดวกในการรับประทาน และไม่ต้องสัมผัสรสขม
ชื่อสามัญ Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucurber, Bitter gourd,Bitter melon, Carilla fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn
ชื่อวงศ์ Cucurbitaceae
ชื่ออื่นๆ ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น