วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข่า

ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในตระกูลขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยมาช้านาน ส่วนที่นำมาประกอบอาหาร คือ เหง้า

สรรพคุณ
  • ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ขับน้ำดี
  • ขับลม
  • ลดการอักเสบ
  • ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ฆ่าเชื้อรา
  • ทารักษากลาก เกลื้อน

 สรรพคุณทางยา 
  • บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยการใช้เหง้าสด ต้มเอาน้ำดื่ม
  • ทารักษากลาก เกลื้อน โดยใช้เหง้าสดผสมเหล้าโรงทา

 วิธีการใช้ข่ารักษากลาก เกลื้อน 
  1. ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา
  2. เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย
  3. เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด
  4. เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี
  5. ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง
  6. ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

วิธีการใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด 
  1. ใช้เหง้าสด 5 กรัม หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม
  2. กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม

ชื่อสามัญ : ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (Linn.)

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่นๆ : กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) ข่าหยวก (ภาคเหนือ) ข่าหลวง (ภาคอีสาน) สะเอเชย  หรือ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Glalangal, Greater Galangal,Chinese Ginger

ที่มา : http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/alpinia.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น