วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการกินเจ

ประโยชน์ของการกินเจในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ

  1. ให้พลังเย็น โดยได้รับพลังงานจากฟรุกโตส ซึ่งมีในผัก ผลไม้ เป็นพลังที่ไม่ทำร้ายร่างกาย 
  2. ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ไม่มีสารพิษตกค้าง เพราะกากใยในพืช ผัก ผลไม้ ช่วยระบบการย่อยและระบบขับถ่าย ทำให้ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ รวมถึงโรคที่เกิดจากระบบขับถ่ายผิดปกติต่างๆ เช่น โรคริดสีดวงทวาร 
  3. หากรับประทานประจำจะช่วยฟอกโลหิตในร่างกายให้สะอาด เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมช้าลง ทำให้ผิวพรรณผ่องใส มีอายุยืนยาว สายตาดี แววตาสดใส ร่างกายแข็งแรงมีความต้านทานโรค มีความคล่องตัว รู้สึกเบาสบายไม่อึดอัด 
  4. ทำให้ปราศจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคตับ โรคลำไส้ โรคเก๊าต์ ฯลฯ เพราะได้รับอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ ซึ่งไม่เป็นสาเหตุ และยังช่วยป้องกันโรคเหล่านี้ 
  5. อวัยวะหลักของร่างกาย และอวัยวะเสริมทั้ง 5 ทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อวัยวะหลัก ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด อวัยวะเสริมทั้ง 5 ได้แก่ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี 
  6. ผู้ที่กินเจจะมีร่างกายที่สามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งได้แก่ ยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายอื่นๆ มลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ทั้งจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งมีปะปนอยู่ในอากาศ รวมถึงแหล่งอาหารและน้ำดื่ม 

จะเห็นได้ว่าในทางการแพทย์นั้น การกินเจมีประโยชน์ในการรักษา ที่สามารถพิสูจน์และมองเห็นได้ชัดเจนกว่าประโยชน์ในทางศาสนา แม้ว่าการปฏิบัติจะไม่เคร่งครัดเท่ากับความต้องการประโยชน์ทางด้านศาสนา

เลือกกินผักให้ถูกหลักกับการกินเจ

หากต้องการกินเจให้ถูกหลัก เราควรรับประทานผักผลไม้ต่าง ๆ ให้ครบ 5 สีในแต่ละวัน ตามสีของแต่ละธาตุทั้ง 5 ดังนี้

1. สีแดง แดงส้ม แสด ชมพู เช่น มะเขือเทศ แครอท พริกสุก มะละกอ แตงโม ฯลฯ ถือเป็นสัญลักษณ์ของธาตุไฟ จะช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสขม ที่จะไปทำอันตรายต่อระบบการไหลเวียนของโลหิต 

2. สีดำ น้ำเงิน หรือ ม่วง เช่น ถั่วดำ เผือก มะเขือม่วง เห็ดหูหนู ลูกหว้า องุ่น เป็นสัญลักษณ์ของธาตุน้ำ มีประโยชน์ต่อไต ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องไต ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเค็ม 

3. สีเหลือง ทั้งเหลืองแก่ และเหลืองอ่อน เช่น ฟักทอง ถั่วเหลือง มะม่วง ข้าวโพด กล้วย ทุเรียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุดิน มีประโยชน์ในการบำรุงม้าม แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสหวาน 

4. สีเขียว ทั้งสีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ฝรั่ง ถั่วฝักยาว ถือเป็นสัญลักษณ์ของธาตุไม้ หากรับประทานมาก ๆ จะช่วยบำรุงตับ ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับ ควรงดทานอาหารรสเปรี้ยว 

5. สีขาว เช่น ลูกเดือย ผักกาดขาว มะพร้าว น้อยหน่า ถือเป็นสัญลักษณ์ของธาตุโลหะ มีประโยชน์ต่อปอด สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องปอด ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเผ็ด 

อย่างไรก็ตาม ผู้ทานอาหารเจ ควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 สี ตามธาตุทั้ง 5 โดยสลับกันไปในแต่ละวัน เพื่อให้ได้สารอาหาร และคุณค่าที่ครบถ้วน

ผักต้องห้ามในเทศกาลกินเจ

การกินเจก็คล้ายกับการกินอาหารมังสวิรัติ คือการงดกินเนื้อสัตว์ เน้นกินผักเป็นหลัก แต่การกินเจมีข้อห้ามปลีกย่อยเพิ่มเติมมาอีก คือ ห้ามรับประทานผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ เนื่องจากผักเหล่านี้มีกลิ่นฉุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และยังมีพิษทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ ดังนี้
  1. กระเทียม ทั้งหัวกระเทียม ต้นกระเทียม ส่งผลกระทบต่อธาตุไฟของร่างกาย แม้ว่ากระเทียมจะมีสารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล แต่กระเทียมมีความระคายเคืองสูง อาจไปทำลายการทำงานของหัวใจได้ ผู้เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือโรคตับ ไม่ควรรับประทานมาก 

  2. หัวหอม รวมไปถึงต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่ ซึ่งตามหลักการแพทย์โบราณของจีนเชื่อว่า หัวหอม จะกระทบกระเทือนต่อธาตุน้ำในร่างกาย และไปทำลายการทำงานของไตได้ แม้ว่าหอมแดง จะมีฤทธิ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ปวดประจำเดือน แต่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ได้ง่าย รวมทั้งนัยน์ตาพร่ามัว มีกลิ่นตัว 

  3. หลักเกียว หรือที่รู้จักว่า กระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียมที่พบเห็นทั่วไป แต่จะมีขนาดเล็กและยาวกว่า ในทางการแพทย์ของจีนเชื่อว่า หลักเกียว ส่งผลกระทบกระเทือนต่อธาตุดินในร่างกาย และไปทำลายการทำงานของม้าม 

  4. กุยช่าย เชื่อกันว่า กุยช่าย จะไปกระทบกระเทือนต่อธาตุไม้ในร่างกาย และทำลายการทำงานของตับ 

  5. ใบยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นยาเส้น บุหรี่ ของเสพติดมึนเมา อะไรต่าง ๆ จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อธาตุโลหะในร่างกาย และการทำงานของปอด 

     

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง

 วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง

  • งดอาหารประเภทดองเค็ม เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผัก ผลไม้ดองเค็มทุกชนิด
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือมาก เช่น กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา ปลาร้า เต้าหู้ยี้
  • งดสิงปรุงแต่งจำพวกซุปก้อน ซุปผง รวมทั้งผงชูรสต่างๆ หรือผงปรุงรสที่ใส่มาในซองบะหมี่สำเร็จรูป
  • เมื่อปรุงอาหารด้วยเกลือ น้ำปลา ซอสที่มีรสเค็ม ควรใส่ปริมาณน้อยๆ

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

  • รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง ข้าวสาร หัวหอม พริกแห้ง มะละกอสุก (ผิวเน่า) ถ้าพบว่ามีราสีดำให้ทิ้งได้ทันที
  • รับประทานผัก ผลไม้ ที่สด สะอาด และปลอดสารพิษ จะช่วยให้ร่างกายได้รับใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ
  • งด หรือ ลด อาหารปิ้งย่าง ทอด ด้วยไฟแรงจนมีควัน และอาหารไหม้เกรียม เช่น หมูย่าง ไก่ย่าง
  • งด หรือ ลด อาหารเนื้อสัตว์ที่ใส่ดินประสิว เช่น แหนมเนื้อ หรือ ปลาแดดเดียว แฮม เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์หมัก เช่น กะปิ ปลาร้า หอยดอง หากจะรับประทานต้องใช้ความร้อนทำให้สุกก่อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและมันจัด
  • ระวังอย่าให้ท้องผูก 
  • งดสูบบุหรี่ 
  • ทำจิตใจให้สบายคลายความเครียด



วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคกระดูกโปร่งบาง

วิธีปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคกระดูกโปร่งบาง
 
  • เริ่มดื่มนมและออกกำลังกายตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ตลอดไปจนถึงวัยสูงอายุ
  • รับประทานอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  • ออกกำลังกายกลางแจ้งด้วยวิธีที่กระดูกรับน้ำหนัก เช่น การเดินเป็นประจำสม่ำเสมอ

จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนในด้านการบริโภคเพื่อป้องกันโรคความเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิต กระดูกโปร่งบางและมะเร็ง คือการเลือกอาหารหลัก 5 หมู่ ให้ดีที่สุด ประกอบกับจิตสำนึกในการบริโภคเพื่อป้องกันโรค ควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันนี้และตลอดไป อย่ารอให้โรคความจำเสื่อมมาเยือน อาจสายเกินไป เราสามารถชะลอและป้องกันมิให้เกิดโรคได้

กินอย่างไรให้ห่างไกลโรคในวัยทอง

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีต้องอาศัยความรู้เรื่องคุณค่าของอาหาร ประกอบกับการมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่ารับประทานตามใจปาก

หลักปฏิบัติในการเลือกอาหาร
  • เลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการดี
  • เลือกอาหารที่ประหยัด คือ อาหารหาง่ายตามท้องถิ่น หรือมีตามฤดูกาล
  • เลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษทั้งปวง เช่น หลีกเลี่ยงอาหารแต่งกลิ่น สีสังเคราะห์ เป็นต้น
  • เลือกอาหารให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจ
ข้าว ควรเป็นข้าวที่ไม่ขัดขาว ซึ่งจะได้รับใยอาหารและวิตามินที่ป้องกันโรคเหน็บชามากกว่าข้าวขาว

เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา ควรบริโภคทั้งปลาน้ำจืดที่หาง่ายในท้องถิ่น และปลาทะเลซึ่งอุดมด้วยไอโอดีนเพื่อป้องกันคอพอก และปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซะบะ ซึ่งมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือด พร้อมกับบริโภคเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่ไม่มีมัน เช่น สันในไก่ สันในหมู

นม เมื่อเข้าสู่วัยทองแม้เกลือแร่จะออกจากกระดูกไปบ้างตามธรรมชาติ แต่กระดูกก็ยังมีเกลือแร่และความหนาแน่นพอที่จะป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องดื่มนมเพื่อรักษาความหนาแน่นของกระดูก

ถั่ว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วเขียวมีใยอาหารมาก หญิงวัยหมดประจำเดือน ควรดื่มนมถั่วเหลือง วันละ 1-2 แก้ว เพราะนมถั่วเหลืองมีสสารช่วยละโคเลสเตอรอลและชะลอการเกิดโรคกระดูกโปร่งบางในวัยสูงอายุ

ไขมัน เลือกไขมันที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด คือ น้ำมันถั่วเหลือง ผสม น้ำมันรำข้าว 1:1 ในการประกอบอาหาร เพื่อป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง อันจะนำไปสู่ภาวะหัวใจหรือสมองขาดเลือด ควรงดอาหารที่ทอดอมน้ำมัน แกงกะทิ ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น เนย เนยเทียม

ผัก เลือกผักจำพวกใบและมีสีเขียวเข้ม เช่น ใบ ตำลึง ผักกาด กวางตุ้ง คะน้ำ ผักจำพวกผล หัว สีแสดเข้ม มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น มะเขือเทศสุก แครอท

ผลไม้ ได้รับวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร การรับประทานผลไม้จะได้ประโยชน์มากกว่าการดื่มน้ำผลไม้ เพราะได้รับใยอาหารไปด้วยในคราวเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับการทำอาหาร 3

วิธีเก็บหอมหัวใหญ่ไว้ใช้ได้นาน ๆ 
หอมหัวใหญ่พอเก็บไว้นานเกิน มักจะแตกราก แทงใบออกมาเป็นต้นอยู่บ่อย ๆ วิธีเก็บหอมหัวใหญ่ ไว้ให้ใช้ได้นานๆ ลองใส่หัวหอมใหญ่ในถุงกระดาษสีน้ำตาล พับปิดปากถุง ใส่ไว้ในช่องแช่ผัก หัวหอมใหญ่จะอยู่ได้นานขึ้นค่ะ

เก็บน้ำมะนาวไว้ใช้นานๆ
พอซื้อมะนาวมาเยอะๆ แต่ถ้าไม่ได้เก็บไว้ในตู้เย็นก็แข็งจนไม่มีน้ำ แนะนำให้ลองวิธีการนี้ นั่นคือคั้นเป็นน้ำมะนาวเอาไว้ ใส่กล่องเก็บอาหารใบเล็กๆ แช่ในช่องแช่แข็ง จนมะนาวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งมะนาว เก็บไว้เมื่อจะใช้ค่อยเอามาละลาย ก็ยังเปรี้ยวได้เหมือนเดิมค่ะ

ขจัดกลิ่นสะตอหลังรับประทานอาหาร 
รับประทานสะตอทีไร กลิ่นตามมาอร่อยติดปากทั้งวัน เผลอๆก็ข้ามวัน เคล็ดลับในการดับกลิ่นสะตอได้ง่ายๆ ลองรับประทานมะเขือเปราะตบท้าย จะช่วยลดกลิ่นสะตอได้ค่ะ

วิธีทอดอาหารไม่ให้น้ำมันกระเด็น
ปัญหาของการกระเด็นของน้ำมัน อยู่ที่สิ่งที่จะนำลงทอดยังไม่สะเด็ดน้ำ หากพักจนสะเด็ดน้ำ น้ำมันก็จะไม่กระเด็น แต่หากไม่อาจทำให้สิ่งที่ทอดสะเด็ดน้ำได้ วิธีลดการกระเด็นของน้ำมัน ทำได้โดยใช้เกลือป่นคลุกหรือทาบนสิ่งที่ต้องการจะทอด หรือใช้แป้งสาลีโรยลงบนกระทะก่อนที่จะใส่น้ำมันลงไปทอด ก็จะช่วยลดการกระเด็นของน้ำมันลงได้บ้างค่ะ

วิธีล้างตะแกรงปิ้งย่างอย่างง่าย
หลังปิ้งย่างเสร็จ มักจะมีเศษคราบอาหารไหม้ติดอยู่บนตะแกรง ยิ่งย่างมากก็ยิ่งล้างยาก เคล็ดลับให้ล้างง่ายก็คือ หลังใช้ให้ทิ้งตะแกรงไว้ให้เย็นก่อน จากนั้นผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำอุ่นใส่ในถุงขนาดใหญ่ นำตะแกรงใส่ลงแช่ในถุง ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงคราบอาหารก็จะอ่อนตัว เพียงเขย่าถุงและนำตะแกรงออกมาล้างอีกครั้ง ก็จะได้ตะแกรงสะอาดเอี่ยมไว้ใช้ในคราวต่อไป ที่สำคัญอย่าเก็บตะแกรง ที่ใช้แล้วโดยไม่ได้ล้างเป็นอันขาด เพราะคราบสกปรกจะติดแน่นจนล้างไม่ออกเลยล่ะค่ะ

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกไต

จากบทความที่แล้ว ผู้อ่านคงรู้แล้วว่าอาหารประเภทใดเหมาะกับผู้ป่วยที่กำลังฟอกไต อาหารประเภทใดไม่เหมาะ และอาหารประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างมาก แต่อาจจะคิดว่า เอ๊ะ แล้วฉันจะจัดเมนูอาหารอย่างไรให้อร่อย ถูกหลักโภชนาการ และเหมาะสมกับผู้ป่วยฟอกไต วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างอาหารมาให้เพื่อนๆ ได้ลองทำกัน

กลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยฟอกไตควรเลือกรับประทาน
กลุ่มที่ 1 ข้าวสวย ข้าวต้มขาว ข้าวเหนียว ขนมปังขาว ซีเรียล แครกเกอร์
กลุ่มที่ 2 ข้าวต้มหมู ไก่ ปลา กุ้ง หรือโจ๊กหมู ไก่ ปลา กุ้ง
กลุ่มที่ 3 ผัดผักกับหมู / ไก่ / ปลา / กุ้ง เช่น

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม (Hemodialysis) เพื่อลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือด จะมีการสูญเสียสารอาหารโปรตีน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิดไปในการฟอกเลือด เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ป่วยเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน หากรุนแรงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคไตจึงต้องเรียนรู้วิธีการเลือกอาหารรับประทานให้เหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพดีและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมจึงต้องรับประทานเนื้อหมู ไก่ กุ้ง ปลา และไข่ขาวให้เพียงพอ เพราะนอกจากใช้ในการเสริมสร้างร่างกายแล้ว ยังต้องชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการฟอกเลือดแต่ละครั้งอีกด้วย ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรเลือกรับประทานอาหารตามกลุ่มต่างๆ ดังนี้