วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม (Hemodialysis) เพื่อลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือด จะมีการสูญเสียสารอาหารโปรตีน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิดไปในการฟอกเลือด เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ป่วยเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน หากรุนแรงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคไตจึงต้องเรียนรู้วิธีการเลือกอาหารรับประทานให้เหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพดีและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมจึงต้องรับประทานเนื้อหมู ไก่ กุ้ง ปลา และไข่ขาวให้เพียงพอ เพราะนอกจากใช้ในการเสริมสร้างร่างกายแล้ว ยังต้องชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการฟอกเลือดแต่ละครั้งอีกด้วย ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรเลือกรับประทานอาหารตามกลุ่มต่างๆ ดังนี้

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ควรเลือกรับประทานเพื่อให้ได้รับโปรตีนเพิ่ม ได้แก่
    o ไก่ย่าง
    o ไก่ทอด
    o ปลาทอด
    o ปลานึ่ง
    o ปลาย่าง
    o หมูทอด
    o หมูปิ้ง
    o หมูแดง
    o ลูกชิ้นปิ้ง
    o ลูกชิ้นทอด
    o เกาเหลาลูกชิ้น
    o กุ้งนึ่ง
    o กุ้งเผา
    o กุ้งทอดกระเทียมพริกไท
    o กุ้งชุบแป้งทอด
    o ไข่ขาวทอด
    o ไข่ขาวต้ม

อาหารที่ควรเลี่ยง ได้แก่
  • เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก
  • ไข่แดง
  • เครื่องในสัตว์
  • ขาหมู
  • หนังหมูหัน
  • หนังเป็ดปักกิ่ง
  • หมูติดมันทอด
  • หมูติดมันตุ๋น
  • หมูกรอบ (หมู 3 ชั้น)
  • ห่านพะโล้ติดหนัง
  • หนังเป็ดย่าง
  • เนื้อสัตว์ติดมันมาก

ผู้ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรรับประทานเนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู และเลือกชนิดไม่ติดมันและหนัง มื้อละ 3-4 ช้อนกินข้าว ร่วมกับไข่ขาววันละ 2-3 ฟอง ถ้าผู้ที่ได้รับการฟอกเลือดรับประทานเนื้อสัตว์ในแต่ละมื้อไม่เพียงพอ จะทำให้ ร่างกายขาดสารโปรตีน ภูมิต้านทานโรคต่ำ สุขภาพทรุดโทรม แต่ถ้ารับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป ก็ยังคงมีของเสียคั่งในเลือดมาก เนื่องจากไตเทียมสามารถเอาของเสียออกได้ เพียง 10.0 เปอร์เซ็นต์ของไตธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่แนะนำ

ข้าว แป้ง และอาหารจำพวกแป้ง รับประทานได้เท่าไร 
ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น ขนมปัง ข้าวโพด เผือก มัน เป็นอาหารจำพวกแป้งที่ให้พลังงานเป็นหลัก ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับให้เพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายนำ สารโปรตีนมาใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน ซึ่งจะทำให้โปรตีนที่ได้รับไม่สามารถใช้ไปในการเสริมสร้างร่างกาย และเกิดภาวะขาดโปรตีนและพลังงานได้

ควรได้รับพลังงานวันละเท่าไร
หญิงที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน 1600-1800 กิโลแคลอรีต่อวัน
ชายที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน 1800-2100 กิโลแครอลีต่อวัน

ปริมาณอาหารจำพวกแป้งที่ควรได้รับ
                                       หญิง      ชาย
ข้าวสุก มื้อละ (ทัพพี)             3         4
ขนมปัง (แผ่น)                      3         4
ก๋วยเตี๋ยว มื้อละ (ทัพพี)        2-3      3-4
ขนมจีน มื้อละ (ทัพพี)          2-3      3-4
ข้าวเหนียวนึ่ง มื้อละ (ทัพพี)  1-2     2-3

การตักข้าว ต้องทำข้าวให้ร่วนก่อน จึงตักขึ้นมาพูนพอควร เท่ากับ 1 ทัพพี หรือประมาณ 1/3 ถ้วยตวง
1 ทัพพี หมายถึง ทัพพีพลาสติคหรือทัพพีเสตนเลส กว้าง 6.5 ซม ยาว 9 ซม ลึก 1.5 ซม

ปริมาณพลังงานในข้าวและแป้ง
ข้าว/แป้ง 1 ส่วน มีโปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 70-80 กิโลแคลอรี
ตัวอย่างอาหารประเภทข้าวและแป้ง 1 ส่วน
    o ข้าวสุก 1 ทัพพี
    o ขนมปัง 1 แผ่น
    o ก๋วยเตี๋ยวสุก 1 ทัพพี
    o ข้าวโพด 1 ฝักกลาง
    o วุ้นเส้นสุก 2/3 ทัพพีพูน
    o ข้าวเหนียวนึ่ง 1/2 ทัพพี

อาหารจำพวกแป้งที่ควรเลือกรับประทาน
    o  ข้าวผัด
    o  ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหมู / ไก่ / ปลา
    o  ข้าวหมูแดง
    o  ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมู / ไก่ / ปลา
    o  ข้าวราดหน้าไก่
    o  ก๋วยเตี๋ยวแห้งหมู / ไก่ / ปลา
    o  ข้าวกระเพราหมู / ไก่
    o  ก๋วยเตี๋ยวหมู / ไก่ สับ
    o  ขนมจีนน้ำยา
    o  ซาลาเปาไส้หมู
    o  แซนวิชไก่ / ปลาทูน่า
    o  ขนมปังไส้หมู / ไส้ไก่
    o  มันสำปะหลังเผา
    o  ข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก
    o  วุ้นเส้นยำ
    o  ข้าวโพด

อาหารที่ควรเลี่ยง (เนื่องจากมีสารโซเดียม ฟอสฟอรัสสูง)
  • ข้าวคลุกกะปิ
  • ข้าวคลุกน้ำพริก
  • ข้าวผัดหนำเลียบ
  • ก๋วยเตี๋ยวผัดซิอิ้ว
  • ขนมจีนน้ำพริก
  • ขนมจีนแกงกะทิ
  • มันฝรั่งทอด
  • ชีสเบอร์เกอร์
  • แครกเกอร์ไส้เนยแข็ง
  • ข้าวกล้อง/ข้าวซ้อมมือ
  • ข้าวโอ๊ต
  • ลูกเดือย
  • ครัวซอง
  • ข้าวขาหมูติดมันมาก
  • มันฝรั่งทอด/ต้ม
  • จมูกข้าวสาลี
  • ขนมปังจากแป้งไม่ขัดสี
น้ำตาล
น้ำตาล เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมควรใช้ใส่เครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มพลังงานในอาหาร ขนมหวานต่างๆ

ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมและไม่มีโรคเบาหวาน รับประทานได้ แต่ควรเลือกขนมที่ไม่มีส่วนผสมของไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง กะทิ และเนย

ขนมที่ควรเลือกรับประทาน
    o  น้ำหวาน
    o  เยลลี่
    o  มันสำปะหลังเชื่อม
    o  ลูกตาลเชื่อม
    o  ลูกชิดเชื่อม
    o  มันสำปะหลังเผาใส่น้ำเชื่อม
    o  วุ้นหวาน
    o  วุ้นน้ำเชื่อม
    o  ข้าวต้มน้ำวุ้น
    o  เฉาก๊วยน้ำเชื่อม
    o  ทับทิมกรอบน้ำเชื่อม
    o  สาคูเปียก
    o  ข้าวเหนียวเปียกเผือก
    o  ข้าวเหนียวเปียกข้าวโพด
    o  ขนมมัน
    o  ขนมน้ำดอกไม้
    o  ขนมเปียกปูน
    o  ขนมปังไส้แยม
    o  ขนมปังโรยน้ำตาล
    o  ขนมชั้น
    o  วุ้นกรอบ

ขนมที่ควรเลี่ยง
  • ทองหยิบ
  • ทองหยอด
  • ฝอยทอง
  • เม็ดขนุน
  • สังขยา
  • ขนมหม้อแกง
  • ขนมทองเอก
  • ถั่วดำแกงบวด
  • ข้าวเหนียวตัด
  • ข้าวเหนียวมูน
  • เต้าส่วน
  • ขนมไส้งา
  • ถั่วแปบ
  • สาคู / ข้าวเหนียวถั่วดำ
  • เค้ก
  • ขนมหน้านวล
  • ขนมไส้ถั่วทุกชนิด
  • ข้าวเหนียวดำเปียก
น้ำมัน
ไขมันและน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ให้กรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายสร้างไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น และไขมันยังช่วยให้วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่วิตามิน เอ, ดี, อี, เค, ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียม จึงควรรับประทานอาหารที่มี ไขมันพอควร โดยการใช้ทอดหรือผัดอาหาร แต่เนื่องจากผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมักมีไขมันในเลือดสูง ทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง และ โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น จึงควรเลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง

น้ำมันพืชที่ควรเลือกใช้
    o  น้ำมันถั่วเหลือง
    o  น้ำมันรำข้าว
    o  น้ำมันข้าวโพด
    o  น้ำมันถั่วลิสง
    o  น้ำมันปาล์ม
    o  น้ำมันโอลีฟ

น้ำมันเหล่านี้ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้ จึงควรใช้ในการ ผัด ทอด เป็นประจำ

น้ำมันที่ควรหลีกเลี่ยง
  • น้ำมันหมู
  • น้ำมันมะพร้าว
  • เนย
  • ครีม
  • กะทิ
  • เนยเทียม
น้ำมันเหล่านี้ มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น

อาหารที่มีไขมันมาก ก็ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
  • หมูสามชั้น
  • หมูกรอบ
  • หนังหมูหัน
  • หนังเป็ด
  • หนังไก่
  • หมูติดมัน
  • เนื้อติดมัน
  • คุกกี้
อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก ซึ่งจะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น จึงควรเลี่ยง ได้แก่
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ไส้ กระเพาะ
  • ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง มันปู
  • ครีม เนย เนยแข็ง เช่น ชีสเบอร์เกอร์ ฯ
  • ขนมอบต่างๆ ครัวซอง เค้ก พัฟ พาย ดัชเพรสตรี้ ฯ
  • อาหารฟาสฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ฯ
  • ขนมครก
ผู้ที่มีระดับไตรกลีเชอไรด์ในเลือดสูง ควรเลี่ยงอาหารทอด และขนมหวานจัด เพราะอาหารที่มีไขมันมากและน้ำตาลมาก ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้นได้

ผัก
ผัก เป็นอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทิน วิตามินซี วิตามินบี กรดโฟลิค เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม และมีใยอาหารมากด้วย นอกจากนี้ในผักยัง มีสารไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งหลายชนิด ผู้ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม มักมีการสูญเสียวิตามินที่ละลายในน้ำไปกับการฟอกเลือด การรับประทานผักจะช่วยให้ได้รับวิตามินเพิ่มขึ้น และใยอาหารยังช่วยไม่ให้ท้องผูก

ควรหลีกเลี่ยงผักที่มีโพแทสเซียมสูง
ผักใบเขียวเข้ม มีสารโพแทสเซียมสูง ซึ่งผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียม มักมีปัญหาขับถ่ายโพแทสเซียมได้น้อย ทำให้มีโพแทสเซียมตกค้างอยู่ในร่างกายมาก จึงควรเลือกรับประทานผักที่มีโพแทสเซียม ต่ำ หลีกเลี่ยงผักที่มีโพแทสเซียมสูง หรือรับประทานแต่น้อย

ผักสด 1 ถ้วยตวง หรือผักสุก 1/2 ถ้วยตวง มีโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

ผักที่รับประทานได้
ผักต่อไปนี้มีโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง ผู้ป่วยเลือกรับประทานผักดิบได้มื้อละ 1 ถ้วยตวง หรือผักสุก 1/2 ถ้วยตวง
    o  แตงกวา
    o  แตงร้าน
    o  มะระ
    o  ฟักเขียว
    o  น้ำเต้า
    o  บวบ
    o  มะเขือยาว
    o  มะเขือเปราะ
    o  ถั่วแขก
    o  หอมใหญ่
    o  แห้ว
    o  กะหล่ำปลี
    o  ถั่วฝักยาว
    o  พริกหวาน
    o  ผักกาดกรอบ
    o  ผักกาดหอม

ผักที่ควรเลี่ยง
  • เห็ด
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บรอคโคลี่
  • ดอกกะหล่ำ
  • แครอท
  • แขนงกะหล่ำ
  • ผักโขม
  • ผักบุ้ง
  • ผักกาดขาว
  • ใบผักคะน้า
  • ใบผักกวางตุ้ง
  • ผักตำลึง
  • มันเทศ
  • ใบแค
  • ยอดผักแม้ว
  • ใบคื่นช่าย
  • มันฝรั่ง
  • น้ำมะเขือเทศ
  • น้ำแครอท
  • อโวคาโด
หมายเหตุ: ผักถ้านำไปต้ม เทน้ำทิ้ง จะลดปริมาณโพแทสเซียมลง

ผลไม้
ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินซี เกลือแร่ ใยอาหาร และมีน้ำตาลมากด้วย ผลไม้จึง เป็นแหล่งพลังงานอันหนึ่ง แต่ผลไม้มักมีโพแทสเซียมสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งมีปัญหาโพแทสเซียมคั่งในเลือด จึงมักถูกสั่งงดหรือจำกัดผลไม้ อันที่จริงผู้ป่วยสามารถรับประทานผลไม้ได้ แต่ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมน้อย และรับประทานแต่น้อย ประมาณวันละ 1 ครั้ง ตามตารางที่แนะนำไว้ ก็ จะไม่มีปัญหาการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด แต่ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มก./ดล. ควรงดผลไม้ทุกชนิดชั่วคราว และหากระดับโพแทสเซียมสูงกว่า 6.0 มก./ดล. ต้องงดดื่มนม และอาจต้องลดเนื้อสัตว์ในอาหารลงบ้างในช่วงที่มีโพแทสเซียมคั่งมาก และต้องปรึกษาแพทย์

ผลไม้ที่รับประทานได้ในช่วงที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่า 5.0 มก/ดล และควรรับประทานไม่เกินจำนวนที่กำหนด 1 ชนิด วันละ 1 ครั้ง

ผลไม้ 1 ส่วน มีโปรตีน 0.5 กรัม ให้พลังงาน 60-80 กิโลแคลอรี

    o  แอ๊ปเปิ้ล 1/2 ผลกลาง
    o  องุ่น 8-10 ผล
    o  สับปะรด 8 ชิ้นคำ
    o  ชมพู่ 2 ผล
    o  สตรอเบอรี่ 6-8 ผล
    o  เชอรี่ 6-8 ผล
    o  ลองกอง 6 ผล
    o  มังคุด 3 ผล
    o  เงาะ 4 ผล
    o  พุทรา 2 ผลใหญ่
    o  น้ำองุ่น 1/2 ถ้วย
    o  น้ำแอ๊ปเปิ้ล 1/2 ถ้วย
    o  น้ำแครนเบอรี่ 1/2 ถ้วย

ผลไม้ที่ควรงด
ผลไม้ต่อไปนี้ มีโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงหรืองด
  • กล้วยทุกชนิด
  • ขนุน
  • ทุเรียน
  • ฝรั่ง
  • กระท้อน
  • น้อยหน่า
  • ลูกพลับ
  • แคนตาลูป
  • ฮันนี่ดิว
  • มะม่วงสุก
  • มะละกอสุก
  • ลำไย
  • แอปปริคอท
  • ลูกพรุน
  • มะปราง
  • กีวี
  • มะขามหวาน
  • อินทผาลัม
  • กล้วยตาก
  • ส้ม
  • มะเฟือง
  • ลูกเกด
  • น้ำส้ม
  • น้ำมะพร้าว
  • น้ำแครอท
  • น้ำผลไม้รวม
นอกจากนี้ โพแทสเซียมยังมีมากในเนื้อสัตว์ น้ำนม ถั่วเมล็ดแห้ง มะพร้าว กะทิ และเครื่องดื่มบางชนิด ได้แก่ ชา กาแฟ โกโก้ ช้อกโกเลต อีกด้วย

ถั่วเมล็ดแห้ง
ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ รวมทั้งเมล็ดพืช เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดฟักทอง เมล็ด ทานตะวันเหล่านี้ มีทั้งโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงด้วย ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไต เทียมมักมีปัญหาการขับถ่ายฟอสเฟตได้น้อย ทำให้มีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง และแคลเซียมใน เลือดต่ำ ซึ่งจะกระตุ้นให้ฮอร์โมนจากพาราไทรอยด์หลั่งออกมา ทำให้มีการสลายแคลเซียมจาก กระดูกเพิ่มขึ้น เป็นผลให้กระดูกเสื่อม มีภาวะปวดกระดูก กระดูกเปราะ หักง่าย

อาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก ผู้ป่วยควรงด
  • ถั่วเขียว
  • ถั่วแดง
  • ถั่วดำ
  • ถั่งลิสง
  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ถั่วอัลมอนต์
  • ถั่วแระ
  • เมล็ดทานตะวัน
  • เมล็ดฟักทอง
  • เมล็ดแตงโม
  • เมล็ดถั่วลันเตา
  • ขนมไส้ถั่วและอาหารใส่ถั่ว
  • เมล็ดงา
  • ไข่แดง
อาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก มิได้มีแต่ในถั่วเมล็ดแห้งเท่านั้น แต่ยังมีในอาหารอื่นต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรงดด้วย
  • เครื่องในสัตว์
  • ปลาไส้ตัน
  • ปลาตัวเล็กกินได้ทั้งกระดูก
  • ธัญพืชไม่ขัดสี
  • ข้าวโอต
  • ลูกเดือย
  • ข้าวเหนียวดำ
  • ปาท่องโก๋
  • ไข่แดง
  • ขนมเค้ก
  • ขนมอบต่างๆ
  • น้ำอัดลมประเภทโคล่า
  • น้ำนม
  • โยเกิร์ต
  • เนยแข็ง
  • โกโก้
  • ชอคโกเลต
  • ไมโล
  • โอวัลติน
  • อาหารแปรรูปมักมีฟอสฟอรัสอยู่ด้วย
น้ำนม ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมดื่มนมได้หรือไม่
น้ำนม เป็นอาหารที่มีโปรตีน น้ำนม 1 กล่อง (250 มิลลิลิตร) มีโปรตีน 8 กรัม คาร์โปไฮเดรต 12 กรัม ไขมัน 0-8 กรัม ให้พลังงาน 90-150 กิโลแคลอรี และในน้ำนมยังมี โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสมากด้วย ถ้าต้องการดื่มนม ดื่มได้วันละ 1/2 แก้วต่อวัน

อาหารประเภทนมและผลิตภัณฑ์น้ำนม คือ น้ำนม น้ำนมรสต่างๆ นมผง นมโยเกิร์ต นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม เนยแข็ง

อาหารที่มีรสเค็มสามารถรับประทานได้หรือไม่
ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียม มักมีปัสสาวะน้อย เมื่อฟอกเลือดนานเข้า อาจไม่มีปัสสาวะ และผู้ป่วยทำการฟอกเลือดเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จึงอาจมีสาร โซเดียมและน้ำคั่งในร่างกาย เกิดอาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้าบวมมาก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยจึงควรจำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก อาหารที่มีโซเดียมมากมักมีเกลือมาก และ มีรสเค็มจัด เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารเค็มหรือรสจัดมาก ก็จะหิวน้ำ ดื่มน้ำมาก เมื่อขับถ่ายโซเดียมได้น้อย ก็จะมีการกักเก็บน้ำไว้ตามเนื้อเยื่อ ทำให้บวม น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดอันตรายได้ ผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารรสอ่อนเค็มและหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด

ผู้ที่เริ่มฟอกเลือด ยังมีปัสสาวะ และแพทย์ให้ยาขับปัสสาวะ มีปัสสาวะออกมาก ทำให้สูญเสียน้ำและโซเดียม ระยะนี้ยังไม่ต้องควบคุมอาหารเค็ม แต่เมื่อปัสสาวะน้อยลง และมี อาการบวม ต้องควบคุมอาหารเค็มและอาหารที่มีโซเดียม

อาหารอะไรบ้างที่มีโซเดียมมาก
เกลือ เป็นอาหารที่มีโซเดียมถึง 40% และมีรสเค็มจัด เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2000 มิลลิกรัม

อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่
  • เกลือ
  • น้ำปลา
  • ซีอิ้วขาว
  • ซอสปรุงรส
  • ซอสแมกกี้
  • ซอสถั่วเหลือง
  • ซอสหอยนางรม
  • เต้าเจี้ยว
ซอสหลายรสที่มีรสเค็มซ่อนอยู่
  • ซอสพริก
  • ซอสเปรี้ยว
  • ซอสมะเขือเทศ
  • ซิอิ้วหวาน
  • น้ำส้มพริกตำ
อาหารตากแห้ง
  • ปลาเค็ม
  • เนื้อ / หมูเค็ม
  • ปลาแห้ง
  • กุ้งแห้ง
  • ปลาแดดเดียว
อาหารหมักดอง
  • ไข่เค็ม
  • กะปิ
  • เต้าหู้ยี้
  • เต้าเจี้ยว
  • แหนม
  • แฮม
  • ผักดองเปรี้ยว
  • ผลไม้ดอง
อาหารที่เติมเกลือ
  • หมูยอ
  • ไส้กรอก
  • ข้าวเกรียบ
  • มันทอดเติมเกลือ
เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป
  • ไส้กรอก
  • กุนเชียง
  • หมูหยอง
  • หมูแผ่น
  • หมูยอ

อาหารสำเร็จรูป
  • โจ๊กซอง
  • ข้าวต้มซอง
  • บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป
  • ซุปซอง
ปริมาณโซเดียมในซอสต่างๆ
ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.)                    ปริมาณโซเดียม (มก.)
      น้ำปลา                                                 1260 – 1420
      ซีอิ้วขาว                                                 960 – 1420
      ซอสปรุงรส                                                  1150
      ซอสหอยนางรม                                       420 – 490
      น้ำจิ้มไก่                                                  202 – 227
      ซอสมะเขือเทศ                                             170

อาหารที่มีน้ำมาก
ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียม มักมีอาการบวมบ่อย เนื่องจากมีน้ำคั่งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้น้ำท่วมปอด เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเค็มจัด ใน ระยะที่มีอาการบวม ควรจำกัดน้ำและอาหารที่มีน้ำมาก เครื่องดื่มควรดื่มแต่พอควร เลี่ยงอาหารที่ มีรสจัด ซึ่งจะทำให้กระหายน้ำ และดื่มน้ำมากขึ้น

อาหารที่ต้องจำกัด
  • ชา
  • กาแฟ
  • น้ำหวาน
  • น้ำอัดลม
  • น้ำผลไม้ปั่น
  • ก๋วยเตี๋ยวน้ำ
  • ข้าวต้มน้ำมาก
  • โจ๊ก
  • ซุปต่างๆ
  • แกงจืด
  • เกาเหลาต่างๆ
อาหารที่ควรเลือก
    o   ข้าวสวย
    o   ข้าวผัด
    o   ก๋วยเตี๋ยวผัด
    o   ก๋วยเตี๋ยวแห้ง
    o   อาหารทอด
    o   อาหารที่มีน้ำไม่มาก

ผู้ป่วยเบาหวานที่ไตเรื้อรังและต้องฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ผู้เป็นเบาหวานที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียม ปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหาร เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง หรืออาหารแป้งอื่นๆได้ ตามปกติ เพียงแต่เลี่ยงการรับประทานขนมหวานจัด รวมทั้งขนมที่มีไขมันมาก โดยเฉพาะขนมที่ มีส่วนประกอบของกะทิหรือเนยมาก เช่น เค้ก คุกกี้ กล้วยบวดชี ขนมถ้วย ขนมครองแครงกะทิ ผู้เป็นเบาหวานที่รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ได้รับพลังงานจากอาหารไม่พอ ทำให้มีน้ำหนักตัวน้อย อาจรับประทานขนมที่หวานน้อย เพื่อเพิ่มพลังงานได้ เช่น ขนมตาล ขนมน้ำดอกไม้ ขนมมัน ขนมปังหวาน โดนัทไม่เคลือบหรือโรยน้ำตาล และถ้าพบว่ามีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ ควรรับประทานปลา เนื้อไก่ ไข่ขาววันละ 4-6 ฟอง เพิ่มขึ้น หรือรับประทาน อาหารเสริมสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นโรคไต วันละ 1-2 แก้ว (250 มิลลิลิตร)

เครื่องปรุงอะไรบ้างที่สามารถใช้ได้
น้ำส้มสายชู
มะนาว
น้ำตาลทราย
กระเทียม
พริกไทย
รากผักชี
หอมแดง
ตะไคร้
ใบมะกรูด
ใบโหระพา
ใบกระเพรา
พริก
ใบสาระแหน่
ผักชี
ผักชีฝรั่ง
ลูกจันทร์
ดอกจันทร์
กระวาน
กานพลู
เครื่องเทศต่างๆ

สรุป ผู้เป็นไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้
  1. รับประทานปลา ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู กุ้ง เป็นประจำทุกมื้อในปริมาณให้ มากเพียงพอ ไม่ต้องจำกัดเหมือนก่อนทำการฟอกเลือด
  2. รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังหรือแป้งอื่นๆ ให้เพียงพอทุกมื้อ
  3. รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม และไม่เติมเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสเค็ม ขณะ รับประทานอาหาร
  4. หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง รวมทั้งเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดพืชอื่นๆ
  6. รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน / หนัง
  7. เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการประกอบการผัด / ทอด หลีกเลี่ยงอาหารใส่กะทิและอาหารอบที่มีเนยมาก เช่น เค้ก พาย เพสตรี้
  8. เลือกรับประทานผักสีอ่อนๆ เช่น บวบ แตงกวา ฟักเขียว มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก หัวใชเท้า ในการประกอบอาหาร
  9. เลือกรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิล องุ่น ชมพู่ สับปะรด ตาม ปริมาณที่แนะนำระหว่าง หรือ หลังการฟอกเลือด
  10. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น