ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปล่อยสารพิษแก่ร่างกายนั้น แต่ละเซลล์ของมันจะปกคลุมด้วยน้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็น เรื่องธรรมดาของผิวเซลล์ (เซลล์ของคนเราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำมันลงในน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำกับน้ำมันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำมันสองชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำมันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง
เมื่อคุณ ใส่น้ำมันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟัน จะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติดแน่นอยูในส่วนผสมของน้ำมัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสมของน้ำมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะกลืนมัน
เศษอาหาร ที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออกด้วยเช่นกัน สิ่งที่ไม่ใช่น้ำมัน (water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำลาย น้ำลายยังช่วยลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย เมื่อ แบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็นโอกาสดีที่ร่างกายได้ทำการฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดีจึงกลับมาในที่สุด
น้ำมันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง
ตามตำราโบราณของอินเดียแนะนำให้ใช้น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันงา เนื่องจากเป็นน้ำมันที่หาได้ทั่วไปในอินเดียขณะนั้น Dr. Fife กล่าวว่า น้ำมันชนิดใดก็สามารถใช้ทำออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำมันมะพร้าว เนื่องจากต้องการใช้น้ำมันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา หรือน้ำมันพืชชนิดใดๆ (กรดลอริคในน้ำมันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำลายจะแตกตัวเป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค) เหตุผลอีกประการหนึ่ง ชอบที่น้ำมันมะพร้าวมีรสชาตินุ่มนวล น้ำมันบริสุทธิ์ชนิดอื่นๆเช่นน้ำมันมะกอกและน้ำมันงามีกลิ่นรสรุนแรง น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะ มีความสะอาดถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย
วิธีการทำออยล์พูลลิ่ง
- ทำขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำก่อนหรือไม่ก็ได้
- ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก
- ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำมันไหลผ่านฟันและเหงือก
- น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง
- เคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที
- จากนั้นให้บ้วนน้ำมันทิ้งไป
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ
- ทำอย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย
โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง
ผลของการทำออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น
แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้
ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรังได้
อีกหลายชนิด
ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามีการตอบสนอง
ที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำมูกมาก หืด
หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก
ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลในกระเพาะ ลำไส้
ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน
ส่วนอาการหรือโรคที่
การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบ
สนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ(ARDS)
ถุงลมโป่งพอง การอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง ผลเลือดผิดปกติ
ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ
ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม
ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด
ช่วงเวลาที่เหมาะจะทำออยล์พูลลิ่ง
จากกราฟ แสดงให้เห็นว่า ปริมาณของแบคทีเรียในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างวัน การรับประทานทำให้แบคทีเรียบางส่วนผสมกับอาหารและน้ำลายในที่สุดถูกกลืนลงไป ปริมาณแบคทีเรียมีมากสุดในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมีพื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่โดยไม่มีสิ่งใดมารบก วน การทำออยล์พูลลิ่งจึงควรทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากมีปริมาณมากที่สุด
ที่มา : http://www.naturalmind.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น