สรรพคุณ
- มีวิตามิน A, C, E เมื่อข้าสู่ร่างกายจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว มีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
- ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี
- รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ
- รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
สรรพคุณทางยา
- ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
- ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง
- มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- มีฤทธิ์ขับลม ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร
- ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ชลอความแก่
- มีสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ
- สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้
- ป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ
- มีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV
ความสัมพันธ์ของเวลากับอวัยวะในร่างกาย
- 03.00 - 05.00 น. ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง
- 05.00 - 07.00 น. ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิต + นมสด + น้ำผึ้ง + มะนาว หรือน้ำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆ อยู่เป็นล้านๆ เส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้
- 07.00 - 09.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม
- 09.00 - 11.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป ผอมเกินไปที่เกี่ยวกับม้าม ลดอาการของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน
- 11.00 - 13.00 น. สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ มีหรือไม่มี ถ้ากินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลยเวลา 11.00 น.ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับ แล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง
- 13.00 - 15.00 น. ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป
- 15.00 - 17.00 น. ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้
กินเหลือ หรือเลยเวลาจากช่วงนี้ จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยอ่อนเพลีย และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น กินขมิ้นชันมากๆ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินปริมาณมาก
การกินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตอรอย์ที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ
ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว (ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
- ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ
- ผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น ลดความชื้นของปอด
- ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
- ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลลำไส้
- ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ
ชื่อสามัญ : Turmaric
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ : Tumeric, Curcuma
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นหยวก ยากยอ สะยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ : Tumeric, Curcuma
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นหยวก ยากยอ สะยอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น