วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อันตรายจากขวดน้ำพลาสติก

ขวดน้ำพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่มที่ขาย ๆ กันตามห้างสรรพสินค้า รวมทั้งที่ไปเติมน้ำมันครบ 800 แถมน้ำ 1 ขวด อะไรทำนองนั้น ปัจจุบันเพิ่งมีคนตายเพราะการนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปบรรจุน้ำดื่มครั้งแล้ว ครั้งเล่าโดยสารพิษชนิดหนึ่ง สามารถละลายออกมาปะปนกับน้ำดื่ม เนื่องจากขวดประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ครั้งเดียว อายุการใช้งานสั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สมควรเสียดาย นำมาบรรจุน้ำดื่มอีกรวมทั้งน้ำที่มากับขวด หากแม้ว่าเปิดกินไม่หมดแล้วเก็บไว้ในรถยนต์ซึ่งรถดังกล่าวอาจจอดที่ ๆ ร้อน ๆ ความร้อนก็มีผลกับสารพิษที่มากับขวดได้ ดังนั้นเมื่อเปิดดื่มแล้วควรดื่มให้หมดภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์โดยเฉพาะหากเก็บขวดนั้นไว้ที่ร้อน ๆ ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องจะปลอดภัยกว่า

ปัจจุบัน เห็นหลายครอบครัวนำขวดน้ำอัดลมหรือขวดน้ำเปล่า ที่ทำจากพลาสติกมากรอกน้ำแช่ตู้เย็นเอาไว้ดื่มซ้ำแล้วซ้ำอีก จาก ข้อมูลที่ส่งต่อกันทางอินเทอร์เน็ตบ้างก็ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บางก็ว่าไม่เป็นอันตรายอะไรหรอก เพราะหลายสถาบันในต่างประเทศก็ออกมาการันตีว่ามีความปลอดภัย ก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบาย ว่า  

ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วใช้อีกอันตรายจริง โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกแบบ โพลีคาร์บอเนต เมื่อโดนเย็นจัดหรือร้อนจี๋หรือการขบกัดขูดขีดกระแทก จะทำให้มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bis-phenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบใน บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติกออกมา ซึ่งจากงานวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าเพียง 3-4 ส่วนในล้านส่วนก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตในแคนาดาจึงออกกฎเตือนว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องปิดฉลาก เตือนไว้และถ้าเป็นเครื่องบริโภคบางอย่างถึงขนาดห้ามใช้พลาส ติกเลยทีเดียว

แต่ที่ทางการบ้านเรายังไม่ตื่นเต้นก็เพราะว่า ยังเป็นผลการวิจัยว่าเกิดมะเร็งในระดับสัตว์ทดลองและมีปริมาณสารพิษไม่มาก แต่อย่าลืมว่าถ้าเลี่ยง ๆ ไว้ก่อนได้ก็จะดีกว่ารออีก 10 ปีมีงานวิจัยออกมาบอกว่าคนก็เป็นมะเร็งได้ซึ่งไม่มีประโยชน์เสียแล้ว และอย่าลืมอีกข้อที่สำคัญคือถึงแม้มี BPA ปริมาณน้อยจากขวดพลาสติก แต่อย่าลืมว่าวันหนึ่งเราดื่มน้ำจากขวดพลาสติกกันหลายรอบทีเดียว เวลาเบรกจากประชุมหรือสัมมนาแต่ละทีก็ดื่มกันอึกอัก ไปแวะกินข้าว ก่อนกลับบ้านก็ดื่มอีกขวดหนึ่ง วันหนึ่ง 3-4 รอบบ่อย ๆ เข้าก็มี BPA สะสมได้นะ

ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้ตื่นตระหนกจนห้ามใช้พลาสติก เพียงแต่ให้ตระหนักไว้ก่อน และพยายามลดการใช้ไว้ก่อนจะดีกว่า

วิธีหนีให้ไกลมัจจุราชเงียบในพลาสติก คือ

1. ใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก
2. ใช้จานชามกระเบื้องหรือหม้อกระเบื้องเคลือบแทน
3. รณรงค์ให้ใช้วัสดุอินทรีย์แทนพลาส ติก เช่น ใบตอง ห่อผัดไทยใช้เชือกกล้วยผูกหิ้ว
4. ขวดน้ำพลาสติกอย่าทิ้งไว้ในรถหรืออย่านำกลับมาใช้ใหม่
5. อย่าใช้ความร้อนสูงหรือใช้ความเย็นจัดกับภาชนะพลาส ติก เช่นเอาไปใส่ ในไมโครเวฟหรือใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง
6. อย่าให้ภาชนะ กระทบกระแทก หรือ ขูดขีดมาก ระวังไม่ให้เด็กอมขวดหรือกัดพลาสติกเล่น
7. ในแต่ละวันจำกัดการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกไว้ไม่ให้มากเกินไป ไม่ใช่ประชุมกัน 4 รอบก็กินเบรกแกล้มกับดื่มน้ำขวดพลาสติกทุกครั้ง อาจใช้แก้วกาแฟรองน้ำเปล่าดื่มบ้างก็ได้

นี่เป็นบทความของ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ นะคะ ยังไม่มีการรับรองผลการวิจัยต่อมนุษย์ แต่ระวังไว้ก็ดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น