ผักเชียงดา นิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียว เพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมารับประทานเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
สรรพคุณ
ในผักเซียงดา 100 กรัม มี
- วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม
- แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
- เส้นใยอาหาร Crude fiber 2.5 กรัม
- โปรตีน 5.4 กรัม
- ไขมัน 1.5 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
ผักเซียงดาใช้รักษาโรคเบาหวาน
ผักเชียงดา ใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ gymnemic acid ซึ่งสกัดมาจากรากและใบของผักเชียงดา ซึ่งมีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลล์รีเซพเตอร์ในลำไส้ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล The U.S. National Library of Medicine (NLM) and the National Institutes of Health (NIH) พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า ผักเชียงดาสามารถที่จะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน (type 1) และไม่พึ่งอินซูลิน (type 2) ได้ เมื่อให้ร่วมกันอินซูลินและยารักษาเบาหวานอื่นๆ และยังมีรายงานว่ามีบางรายใช้ผักเชียงดาตัวเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องบอกให้แพทย์ทราบเมื่อกินผักเชียงดาช่วยคุมเบาหวานเพื่อที่จะลดอินซูลินและยาลง
ในคนปกติทั่วไปการรับประทานอาหารพวกแป้งและน้ำตาลสูงๆ หากรับประทานผักเชียงดาร่วมด้วยจะช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการ นำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ด้วยกลไกนี้การรับประทานผักเชียงดาจึงทำให้มีการสร้างมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น แคปซูลผักเชียงดายังถูกแนะนำให้เป็นสารช่วยลดน้ำหนักจากธรรมชาติอีกด้วย และพบว่ามีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าการรับประทานผักเชียงดาจะช่วยในการลดคอเลสเตอร อลและไตรกลีเซอไรด์ แต่อย่างไรก็ตาม ในประเด็นหลังนี้ยังต้องการการวิจัยทางคลินิกสนับสนุนเพื่อยืนยันให้มากกว่านี้
แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบของผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ซึ่งในหนึ่งแคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ 500 มิลลิกรัม การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ 400-600 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 8-12 กรัมของผงแห้งต่อวัน โดยกินครั้ง 4 กรัม วันละ 2-3 ครั้งก่อนอาหาร
การทดลองใช้ผักเซียงดารักษาโรคเบาหวาน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี 1926 และในปี 1981 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคน อาสาสมัครที่แข็งแรง ซึ่งพบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1 และ type 2 ตั้งแต่ในปี 1990 เป็นต้นมา มีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยมาดราส ในประเทศอินเดีย ศึกษาผลของผักเชียงดาในหนู โดยให้สารพิษที่ทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลใน เลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลล์เพิ่มขึ้น
ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน ในบางรายถึงกับสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบัน โดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของ hemoglobin A1C ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใน ช่วง 2-4 เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบา หวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณของ hemoglobin A1C ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้ อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี 1997 นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่า ผักเชียงดาไปยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
ในปี 2001 นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (Pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดา โดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-Activity Relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสารสำคัญ 4 ตัว (GIA-1, GIA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ช่วยให้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและในปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก
ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักชียงดาในหนู ซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในประแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน ที่ใช้รักษาเบาหวานชื่อ glibenclamide
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดา ไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใด ยกเว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาลลดน้ำตาล เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
แม้ผักเชียงดาจะไม่ได้มีต้นสูงใหญ่เหมือนต้นถั่วที่แจ็คใช้ปีนขึ้นไปฆ่า ยักษ์ในนิทาน แต่ผักเชียงดาต้นน้อยๆ นี้ก็ได้ชื่อว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล ยักษ์ใหญ่ใจร้ายที่ทำลายสุขภาพของคนทั่วโลกในนามของเบาหวาน ดังนั้นจงอย่ารีรอที่จะช่วยกันกินช่วยกันปลูกผักเชียงดา ผักเป็นยาที่แสนจะมีประโยชน์ อย่าปล่อยให้มีแต่คนอื่นเขาใช้ประโยชน์จากผักป่าธรรมชาติที่บ้านเราก็มี หรือเราจะรอให้คนอื่นทำเป็นยาแคปซูลมาดึงเงินในกระเป๋าเราจนทำให้สูญเสียราย ได้ของประเทศอีกมหาศาล
ชื่อสามัญ : ผักเชียงดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae
ชื่ออื่น : เจียงดา , ผักฮ่อนไก่ (อำเภอภูเรือ), เครือจันปา (อำเภอภูหลวง), ผักอีฮ่วน (อำเภอท่าลี่)
ที่มาข้อมูล : http://thrai.sci.ku.ac.th/node/1477
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น