การรับประทานอาหารบางครั้งก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แล้วถ้าเกิดร่างกายได้รับสารพิษ ควรจะทำอย่างไร วันนี้มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการรับประทานผลไม้ที่สามารถล้างสารพิษออกจากร่างกายมาฝากกัน...
แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย สารเปกตินในแอปเปิ้ลจะช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ทั้งยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่า แถมยังมีเส้นใยมากที่จะทำหน้าที่ทำความสะอาดลำไส้ช่วยให้ตับและระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินและเกลือแร่ และยังเหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนักอีกด้วย
องุ่น เป็นสารฟอกล้างสำหรับผิวหนัง, ตับ, ลำไส้และไตโดยเฉพาะ เนื่องจากองุ่นมีคุณสมบัติรักษาน้ำมูกที่จะออกมาจากเยื่อเมือกต่างๆ ในร่างกาย องุ่นยังให้พลังงานสูงและนำไปใช้ได้ง่าย อุดมไปด้วยเกลือแร่ ดังนั้นจึงช่วยบำรุงเลือดและซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย
สับปะรด มีเอนไซม์โปรเมลินสูง เอนไซม์ตัวนี้จะช่วยการทำงานของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะ และช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ ช่วยการทำงานของต่อมไร้ท่อและช่วยกำจัดน้ำมูก
มะละกอ มะม่วง มีลักษณะที่คล้ายกันแต่มะม่วงจะมีสารสำคัญน้อยกว่ามะละกอเล็กน้อย ผลไม้ทั้งสองชนิดมีเอนไซม์ชื่อปาเปน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำย่อยเปปซินในกระเพาะอาหาร ที่จะช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วเช่นเดียวกับโปรเมลิน ทั้งมะละกอและมะม่วงดีสำหรับทำความสะอาดลำไส้และช่วยย่อยอาหาร
แตงโม จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยฟอกล้างร่างกายได้เป็นอย่างดี ใช้รักษาแผลในกระเพาะ ลดความดันเลือดสูง ทำให้สบายท้อง น้ำคั้นจากเปลือกของแตงโมและเมล็ด หากดื่มก่อนกินเนื้อแตงโมในมื้ออาหารสักครึ่งชั่วโมง จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเปลือกของแตงโมอุดมด้วยคลอโรฟิลล์และเมล็ดอุดมด้วยวิตามิน
ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายท้อง หรือต้องการล้างสารพิษ (detox)ออกจากร่างกาย ลองหันมาทานผลไม้ที่แนะนำกันดูนะคะ
กินอยู่อย่างไทย ปลอดภัย ไร้โรคา สมุนไพรไทย ทรงคุณค่าทางภูมิปัญญา ป้องกันโรค รักษาโรค ร่วมกันสืบทอดภูมิปัญญาไทย
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
คื่นช่าย
สารเคมีที่พบในใบคึ่นช่าย เป็นสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย กรดอินทรีย์ Carotene วิตามินซีและเกลือแร่ คึ่นช่ายเป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน ความฉุนนี่เองที่แสดงว่าคึ่นช่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระตัวหนึ่งชื่อ ฟีนอลิค อยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายโดยรวมได้ดีพอสมควร คนโบราณนิยมเอากลิ่นของคึ่นช่ายมาดับคาวปลา ดังนั้นคึ่นช่ายจะมักจะขึ้นโต๊ะคู่กับปลาเสมอ
คุณสมบัติทางยาของคึ่นช่ายตามตำราจีน คือช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด ในทางการแพทย์แผนโบราณถือว่า คึ่นช่าย มีรสหวาน เย็น ไม่มีพิษ
สรรพคุณ
สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีอาการปวดมึนศีรษะ ถ้ากินคึ่นช่ายสดเป็นประจำจะมีผลดีในการรักษา แต่มีข้อระวังอยู่อย่างหนึ่งคือ ไม่ควรจะผัดหรือต้มคึ้นช่ายให้ สุกมากเกินไป เพราะความร้อนสามารถทำลายวิตามินและเกลือแร่ในคึ่นช่ายได้
คื่นช่ายมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 6.96
ข้อควรระวัง ห้ามใช้คึ่นช่ายกับคนที่เป็นโรคไต
ชื่อสามัญ คึ่นช่าย (Celery หรือ Smallage)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE
ชื่ออื่นๆ ชื่อพื้นเมือง ผักข้าวปืน ผักปืน ผักปืม (เหนือ)
คุณสมบัติทางยาของคึ่นช่ายตามตำราจีน คือช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด ในทางการแพทย์แผนโบราณถือว่า คึ่นช่าย มีรสหวาน เย็น ไม่มีพิษ
สรรพคุณ
- ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ
- แก้อักเสบ
- ลดความดันเลือด
- ดับร้อน
- แก้ไอ
- บำรุงกระเพาะ
- ขับปัสสาวะ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีอาการปวดมึนศีรษะ ถ้ากินคึ่นช่ายสดเป็นประจำจะมีผลดีในการรักษา แต่มีข้อระวังอยู่อย่างหนึ่งคือ ไม่ควรจะผัดหรือต้มคึ้นช่ายให้ สุกมากเกินไป เพราะความร้อนสามารถทำลายวิตามินและเกลือแร่ในคึ่นช่ายได้
คื่นช่ายมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 6.96
ข้อควรระวัง ห้ามใช้คึ่นช่ายกับคนที่เป็นโรคไต
ชื่อสามัญ คึ่นช่าย (Celery หรือ Smallage)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE
ชื่ออื่นๆ ชื่อพื้นเมือง ผักข้าวปืน ผักปืน ผักปืม (เหนือ)
รากหญ้าคา
แปลกไหมที่หญ้าคา ซึ่งเราถือว่าเป็นวัชพืชในแปลงพืขสวน ไร่ นา แต่กลับเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ
คนโบราณใช้รากหญ้าคามาต้มน้ำดื่ม เพื่อรักษาโรคขัดเบา
ในงานสาธารณสุขมูลฐาน แสดงไว้ว่า รสและสรรพคุณยาไทยของรากหญ้าคา มีรสจืดแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการขัดเบา
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า รากหญ้าคามี Arundoin, Cylindrin, กรดอินทรีย์ น้ำตาล เป็นต้น ไม่มีพิษเฉียบพลัน มีรายงานว่า ประเทศจีน อินโดนีเซีย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ในตำรายาแผนโบราณ กล่าวว่า รากมีรสชุ่ม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ใช้ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ปกติเป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำจับเลี้ยงของคนจีน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ รากสดหรือแห้ง
สรรพคุณ
วิธีใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบาสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน
ใช้รากสดของหญ้าคาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 - 50 กรัม หรือแห้ง 10 - 15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (ประมาณ 75 มิลลิลิตร)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้ำสมุนไพรรากหญ้าคาจำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมอยู่หลายราย
ชื่อสามัญ หญ้าคา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Imperata cylindrica Beauv.
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออื่นๆ Cogon grass, Imperata cylindrica
คนโบราณใช้รากหญ้าคามาต้มน้ำดื่ม เพื่อรักษาโรคขัดเบา
ในงานสาธารณสุขมูลฐาน แสดงไว้ว่า รสและสรรพคุณยาไทยของรากหญ้าคา มีรสจืดแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการขัดเบา
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า รากหญ้าคามี Arundoin, Cylindrin, กรดอินทรีย์ น้ำตาล เป็นต้น ไม่มีพิษเฉียบพลัน มีรายงานว่า ประเทศจีน อินโดนีเซีย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ในตำรายาแผนโบราณ กล่าวว่า รากมีรสชุ่ม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ใช้ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ปกติเป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำจับเลี้ยงของคนจีน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ รากสดหรือแห้ง
สรรพคุณ
วิธีใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบาสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน
ใช้รากสดของหญ้าคาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 - 50 กรัม หรือแห้ง 10 - 15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (ประมาณ 75 มิลลิลิตร)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้ำสมุนไพรรากหญ้าคาจำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมอยู่หลายราย
ชื่อสามัญ หญ้าคา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Imperata cylindrica Beauv.
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออื่นๆ Cogon grass, Imperata cylindrica
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
น้ำกระเจี๊ยบ
ประโยชน์ของ น้ำกระเจี๊ยบแดง
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ
ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา
รองลงมามีแคลเซียม
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ช่วยขับปัสสาวะ
ลดความดันโลหิต
เป็นยาระบายอ่อนๆ
และช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
ส่วนผสม
วิธีทำ
1. เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำ ทำความสะอาด นำใส่หม้อต้มจนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆ เคี่ยวเรื่อยๆ จนน้ำเป็นสีแดงจนเข้มข้น
2. เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ก็ยกลง ชิมรสตามใจชอบ
3. เอาขวดมาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำน้ำกระเจี๊ยบแดงมากกรอก แล้วปิดจุกให้แน่น เก็บไว้ได้นาน (ควรแช่ในตู้เย็น)
หรือ อีกวิธีหนึ่ง นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย (2 มิลลิกรัม)
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ
ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา
รองลงมามีแคลเซียม
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ช่วยขับปัสสาวะ
ลดความดันโลหิต
เป็นยาระบายอ่อนๆ
และช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
ส่วนผสม
- ดอกกระเจี๊ยบสด/แห้ง 20 กรัม (5 ดอก )
- น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว)
- น้ำเปล่า 200 กรัม (14 ช้อนคาว)
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนคาว)
วิธีทำ
1. เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำ ทำความสะอาด นำใส่หม้อต้มจนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆ เคี่ยวเรื่อยๆ จนน้ำเป็นสีแดงจนเข้มข้น
2. เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ก็ยกลง ชิมรสตามใจชอบ
3. เอาขวดมาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำน้ำกระเจี๊ยบแดงมากกรอก แล้วปิดจุกให้แน่น เก็บไว้ได้นาน (ควรแช่ในตู้เย็น)
หรือ อีกวิธีหนึ่ง นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย (2 มิลลิกรัม)
กระเจี๊ยบแดง
คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ของกระเจี๊ยบมีมากมายนับถ้วนไม่ว่าจะเป็นการนำใบอ่อนและยอดที่มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้ต้มหรือแกง กลีบเลี้ยงสีแดง มีคุณค่าทางอาหารมาก สามารถนำมาทำอาหารหวานบางจำพวกเช่น แยม เส้นใยจากต้นใช้ทำเชือกและกระสอบ ในต่างประเทศใช้เมล็ดเป็นยาแผนโบราณเพื่อเป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาบำรุง ใช้ทำเครื่องดื่ม เช่น ชา น้ำผลไม้ ไวน์ หรือนำมาคั้นเป็นน้ำกระเจี๊ยบรับประทาน แก้อ่อนเพลีย แก้คอแห้งกระหายน้ำ
สรรพคุณ
กระเจี๊ยบมีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน กลีบรองดอกของกระเจี๊ยบมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin ทำให้มีสีม่วงแดง เช่น สาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทางยา ราก ลำต้น ใบ ดอก กลีบเลี้ยง เมล็ด
ราก แก้พยาธิตัวจี๊ด
ลำต้น แก้พยาธิตัวจี๊ด
ใบ รสเปรี้ยว ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ ต้นชะล้างแผล หรือตำพอกฝี แก้พยาธิตัวจี๊ด
ดอก ลดไขมันในเลือด ลดความดัน ละลายเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ไอ ทำให้สดชื่น ลดไข้ ขับน้ำดี แก้พยาธิตัวจี๊ด
กลีบเลี้ยง แก้ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว รักษาแผลในกระเพาะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เส้นเลือดตีบตัน แก้พยาธิตัวจี๊ด
เมล็ด รสเมา บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ดีพิการ แก้อ่อนเพลีย เป็นยาระบาย ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
สรรพคุณทางยา
กลีบเลี้ยง บดเป็นผงใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน 1 ถ้วยชา ดื่มเช้า กลางวันและเย็น รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และลดไขมันในเลือด ป้องกันการจับตัวของไขมันในเลือด แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ ช่วยระบาย ลดกรดยูริกในปัสสาวะ ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเกาต์ ซึ่งต้องการขับกรดในเลือดออกมากับปัสสาวะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ตำราไทยใช้ใบและยอดอ่อนกับปัสสาวะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ตำราไทยใช้ใบและยอดอ่อนแก้ไอ มีวิตามินเอ สามารถต้านอนุมูลอิสระ
เมล็ด ใช้เมล็ดแห้งบดละเอียดเป็นผงผสมน้ำหรือต้มน้ำดื่ม ลดไขมันในเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย
ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี แก้นิ่ว ลดไข้ ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ ขับเมือกมันในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก ใช้ตำพอกฝี หรือต้มเอาน้ำมาล้างแผล บำรุงเลือด และบำรุงธาตุ
ปัจจุบันมีการนำเอากระเจี๊ยบมาผลิตเป็นเครื่องดื่มมากมาย อาทิ ชาแดงจากกระเจี๊ยบที่มีสรรพคุณช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น บำรุงสายตา นมเปรี้ยวกระเจี๊ยบแดง นอกจากจะได้ประโยชน์จากนมแล้ว สีแดงที่ได้จากดอกและกลีบเลี้ยงจะมีสารแอนโธไซยานินและกรดธรรมชาติที่ชื่อซิตริก เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถนำกระเจี๊ยบมาหมักทำไวน์แดง และหากนำไวน์แดงใช้ร่วมกับนมสดชโลมผิวกาย ใบหน้า จะทำให้ผิวพรรณสดใส ลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและหางตา นอกจากนี้ ไวน์แดงยังเหมาะสำหรับทำเป็นน้ำยาที่ช่วยขจัดจุดด่างดำและฝ้าบนใบหน้าได้ดีมาก เพราะมีสารเมือกและกรดธรรมชาติที่สามารถลอกและชำระล้างเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดล่อนออก ใช้ประจำทั้งเช้าและเย็นผิวหน้าจะดูนุ่มนวล สดใส
ชื่อสามัญ Rosella, Red Sorrel, Jamaica Sorrel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa
ชื่อวงศ์ Malvaceae
ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง
สรรพคุณ
กระเจี๊ยบมีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน กลีบรองดอกของกระเจี๊ยบมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin ทำให้มีสีม่วงแดง เช่น สาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทางยา ราก ลำต้น ใบ ดอก กลีบเลี้ยง เมล็ด
ราก แก้พยาธิตัวจี๊ด
ลำต้น แก้พยาธิตัวจี๊ด
ใบ รสเปรี้ยว ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ ต้นชะล้างแผล หรือตำพอกฝี แก้พยาธิตัวจี๊ด
ดอก ลดไขมันในเลือด ลดความดัน ละลายเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ไอ ทำให้สดชื่น ลดไข้ ขับน้ำดี แก้พยาธิตัวจี๊ด
กลีบเลี้ยง แก้ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว รักษาแผลในกระเพาะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เส้นเลือดตีบตัน แก้พยาธิตัวจี๊ด
เมล็ด รสเมา บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ดีพิการ แก้อ่อนเพลีย เป็นยาระบาย ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
สรรพคุณทางยา
กลีบเลี้ยง บดเป็นผงใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน 1 ถ้วยชา ดื่มเช้า กลางวันและเย็น รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และลดไขมันในเลือด ป้องกันการจับตัวของไขมันในเลือด แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ ช่วยระบาย ลดกรดยูริกในปัสสาวะ ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเกาต์ ซึ่งต้องการขับกรดในเลือดออกมากับปัสสาวะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ตำราไทยใช้ใบและยอดอ่อนกับปัสสาวะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ตำราไทยใช้ใบและยอดอ่อนแก้ไอ มีวิตามินเอ สามารถต้านอนุมูลอิสระ
เมล็ด ใช้เมล็ดแห้งบดละเอียดเป็นผงผสมน้ำหรือต้มน้ำดื่ม ลดไขมันในเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย
ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี แก้นิ่ว ลดไข้ ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ ขับเมือกมันในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก ใช้ตำพอกฝี หรือต้มเอาน้ำมาล้างแผล บำรุงเลือด และบำรุงธาตุ
ปัจจุบันมีการนำเอากระเจี๊ยบมาผลิตเป็นเครื่องดื่มมากมาย อาทิ ชาแดงจากกระเจี๊ยบที่มีสรรพคุณช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น บำรุงสายตา นมเปรี้ยวกระเจี๊ยบแดง นอกจากจะได้ประโยชน์จากนมแล้ว สีแดงที่ได้จากดอกและกลีบเลี้ยงจะมีสารแอนโธไซยานินและกรดธรรมชาติที่ชื่อซิตริก เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถนำกระเจี๊ยบมาหมักทำไวน์แดง และหากนำไวน์แดงใช้ร่วมกับนมสดชโลมผิวกาย ใบหน้า จะทำให้ผิวพรรณสดใส ลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและหางตา นอกจากนี้ ไวน์แดงยังเหมาะสำหรับทำเป็นน้ำยาที่ช่วยขจัดจุดด่างดำและฝ้าบนใบหน้าได้ดีมาก เพราะมีสารเมือกและกรดธรรมชาติที่สามารถลอกและชำระล้างเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดล่อนออก ใช้ประจำทั้งเช้าและเย็นผิวหน้าจะดูนุ่มนวล สดใส
ชื่อสามัญ Rosella, Red Sorrel, Jamaica Sorrel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa
ชื่อวงศ์ Malvaceae
ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)