ท้องผูกเป็นอาการที่ไม่ขับถ่ายอุจจาระตามปกติ หรือถ่ายลำบาก อุจจาระแข็ง โดยในคนปกติการขับถ่ายอาจจะแตกต่างกันได้บ้าง เช่น บางคน ขับถ่ายวันละครั้ง บางคน 2 วัน/ครั้ง คนที่มีอาการท้องผูก จะมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย ไม่สบายท้อง หรืออึดอัด แน่นท้อง
ผลเสียของอาการท้องผูก
อุจจาระแข็งขับถ่ายยาก ทำให้อุจจาระไปครูดกับผนังทวารหนักเกิดเป็นแผล กดหลอดเลือดดำโป่งพองออก ทำให้เกิดเป็นริดสีดวงทวารได้ และอาจเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าของเสียที่ตกค้างในลำไส้ จะทำให้เกิดอาการ หอบหืด หรืออาการผื่นแพ้ทั้งหลาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสิว ฝ้า หน้าตาหมองคล้ำ การป้องกันอาการท้องผูกทำได้โดย กินผักผลไม้สดให้มากขึ้น และดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายพอสมควร และเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย ฝึกนั่งขับถ่ายทุกๆวัน
ท้องผูกเป็นปัญหาหนักใจของใครหลายๆ คน ที่สำคัญมักเป็นเรื้อรัง วันนี้เรามีสมุนไพรไทยที่บรรเทาอาการท้องผูกได้ และสามารถหาและทำรับประทานได้เองอย่างง่ายๆ
1.ขิง เป็นผักพื้นบ้านที่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวได้ดี
จาก Happy Life |
วิธีทำน้ำขิง
เลือกขิงไม่แก่จัด ไม่อ่อนจัด ปอกเปลือก ล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่น สัก 3-4 แว่น ต้มกับน้ำ 1.5 ถ้วย เคี่ยวจนเหลือน้ำ 1 ถ้วย ดื่มจนหมดถ้วย แล้วเข้านอน
พรุ่งนี้ตื่นเช้าๆ ลุกขึ้นมาเอ็กเซอร์ไซส์เสียหน่อย หากทำอย่างต่อเนื่องปัญหาท้องผูกจะค่อยๆ หมดไปค่ะ
2.ขี้เหล็ก
- ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิต
- ดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
- ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ
- แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค
วิธีใช้
ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว
นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน
3.ชุมเห็ดเทศ
จาก Happy Life |
- ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
- ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก มีสาร แอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว
- การทดลองในสัตว์ และคน พบว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย
4.มะขาม
จาก Happy Life |
- ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี
- เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น