หญ้าหนวดแมวเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมว
หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง
สรรพคุณ
ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %
หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน
และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน
ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา
สรรพคุณทางยา
ต้น - ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว
ใบ - เป็นยารักษาโรคเบาหวาน และลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้ง เป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ และรักษาโรคนิ่วในไต กับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซีดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่พอใจของแพทย์
ข้อควรระวัง
เนื่องจากในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้
การใช้หญ้าหนวดแมวรักษาอาการปัสสาวะขัด
1. นำใบและกิ่งแห้ง 4 กรัม มาชงด้วยน้ำร้อน 750 ซี.ซี. ดื่มน้ำชงต่างน้ำ ตลอดเวลานาน 1-6 เดือน
2. ใช้ใบกับก้านสด 90-120 กรัม (แห้ง 40-50 กรัม) ต้มกับน้ำ นำน้ำที่ได้มาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ชื่อสามัญ : หญ้าหนวดแมว (Cat's Whisker).Kidney tea plant, Java tea">
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE
ชื่ออื่น : พยับเมฆ บางรักป่า อีตู่ดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น