ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย หรือซอยใส่ในอาหารประเภทยำ ต้มยำ เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้ ในทางการแพทย์สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ ใบสด เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปาก
สรรพคุณ
- ใบหรือทั้งต้น นำมาทาหรือพอกแก้อาการอักเสบของพิษงู แมงป่อง ตะขาบ และแมลงมีพิษกัดต่อย
- น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากกิ่งและใบ ช่วยบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม หน้ามืด ตาลาย
สรรพคุณทางยา
ใบและใบอ่อน
- ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด
- ใช้ดับกลิ่นปากได้ดี เพราะมีน้ำมันหอมระเหย
- มีสารต้านมะเร็ง ทำให้สารก่อมะเร็งในยาสูบไม่ออกฤทธิ์
ลำต้น
- นำลำต้นของผักชีฝรั่งมาตำผสมกับน้ำมันงา แล้วหมกไฟให้สุก นำมาประคบแก้ปวดเมื่อยได้ดี
- นำลำต้นผักชีฝรั่งมาต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้ไข้มาลาเรีย หรือใช้เป็นยาถ่าย
- นำลำต้นผักชีฝรั่งมาตำแล้วใช้พอกแก้พิษงู ฆ่าเชื้อโรค
- นอกจากนี้ลำต้นผักชีฝรั่งยังใช้ขับปัสสาวะ
- ช่วยทำให้เล็บ ผม และผิวหนังแข็งแรง
- ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ
- ใช้ลดความดันโลหิตได้
เมล็ด
- เมล็ดผักชีฝรั่ง นำมาใช้ทำ Gripe water สำหรับขับลมในกระเพาะได้ดี
ข้อควรระวัง สำหรับสุภาพสตรีไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์
ชื่อสามัญ : ผักชีฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum L.
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออังกฤษ : Parsley, Sawtooth corianser, Spiny coriander, long coriander, Culantro
ชื่ออื่นๆ : ผักชีลาว, ผักหอมเทศ, ผักชีดอย, หอมป้อมกุลา(ภาคเหนือ), ผักชีใบเลื่อย, ผักหอมเป (ภาคอีสาน), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม, หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น